HOW TO SELF DEVELOPMENT

ทำไมการ “เปิดเผยความรู้สึกทั้งหมดออกไป” ถึง ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุด

มีการศึกษาของกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ขอให้คนที่ไม่รู้จักกันคู่หนึ่ง ดูสารคดีเกี่ยวกับการทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิแล้วนำมาสนทนากัน

ส่วนหนึ่งของการศึกษานี้ ผู้เข้าร่วมบางคนได้ถูกขอให้ “ทำให้คู่ของตัวเองไม่รู้ว่าคุณกำลังมีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ใดๆ” เมื่อเทียบกับคู่ที่มีอิสระในการแสดงอารมณ์ คนที่ถูกบอกให้ซ่อนความรู้สึกพวกเขาจะมีความดันเลือดพุ่งสูงขึ้นและมีความวอกแวกด้วย นอกจากนี้คนทั้งสองในกลุ่มที่ “เก็บกด” มักจะรู้สึกถึงสายสัมพันธ์ที่น้อยกว่าและความรู้สึกด้านบวกที่น้อยกว่าคู่ที่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกตามธรรมชาติ

การศึกษานี้เป็นหนึ่งในหลายๆ เรื่องที่แนะนำว่าการเก็บซ่อนอารมณ์อาจจะส่งผลในเชิงลบทั้งต่อบุคคลที่ปกปิดเองและต่อคนรอบข้าง และยังมีงานวิจัยอื่่นๆอีกที่เชื่อมโยงการเก็บซ่อนความรู้สึกกับอัตราที่สูงขึ้นของความวิตกกังวล การนอนไม่หลับ และผลลัพธ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพด้วย ดูเหมือนว่าการเก็บซ่อนอารมณ์มักไม่ดี แต่ยังมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าบางครั้งอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่าได้

David Caruso นักจิตวิทยาและผู้ร่วมวิจัยของ Yale Center for Emotional Intelligence กล่าวว่า มีสถานการณ์บางอย่างทางสังคมที่เห็นได้ชัด ซึ่งพวกเราหลายคนอาจพบเจอในชีวิตประจำวัน ซึ่งการแสดงความรู้สึกออกไปอาจเป็นเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจหรือน่าอาย หากคุณกำลังประชุมกับเจ้านายหรือลูกค้า และพวกเขาพูดบางอย่างที่คุณคิดว่า “ไร้สาระสิ้นดี” การบอกพวกเขาว่าคุณรู้สึกอย่างไรน่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

แต่เมื่อคุณคุยกับคนใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัวหรือเพื่อน ก็มีบางสถานการณ์ที่ความกล้าของคุณล้นออกมาจนอาจทำให้อารมณ์ด้านลบรุนแรงขึ้น แต่อย่าไปบั่นทอนพวกเขาเลย

“อารมณ์เป็นสิ่งที่ส่งต่อกันได้ และคุณสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้อื่นได้ด้วยการแชร์ความรู้สึกของตัวเองออกไป”

เขาชี้ให้เห็นว่าอารมณ์ต่างๆ มักจะเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน อาจเกิดขึ้นชั่วขณะ และขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ตั้งแต่การนอนหลับที่ดี ไปจนถึงการรับประทานอาหารมื้อล่าสุด “ความรู้สึกของคุณในขณะนั้นอาจเป็นผลมาจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องทั้งหมดเหล่านี้ก็ได้” และด้วยการแสดงความรู้สึกของคุณ ไม่เพียงแค่คุณส่งต่ออารมณ์บางอย่างของคุณไปยังผู้อื่นเท่านั้น แต่คุณยังต้องรับมือกับผลที่ตามมาจากการเปิดเผยนั้นด้วย

กล่าวได้ว่า ในอารมณ์โกรธหรือหงุดหงิด คุณได้แชร์ความรู้สึกด้านลบให้กับคู่หรือเพื่อนสนิทของคุณในลักษณะที่ทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบ การเปิดใจอาจสร้างความพึงพอใจในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็อาจสร้างความเสียหายต่อความสัมพันธ์ในระยะยาวได้เช่นกันในหลายกรณี คารูโซกล่าวว่า มันจะดีกว่าสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง หากว่าคุณใช้เวลาตามลำพังเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของความรู้สึกของคุณเอง

“มีบางสถานการณ์ที่คุณแสดงความรู้สึกออกมาทำให้อารมณ์ด้านลบรุนแรงขึ้น ระงับอารมณ์เหล่านั้นไว้ซะ”

คารูโซเสริมต่อว่า “มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการระงับอารมณ์” นอกจากภาระทางจิตใจในการพยายามที่จะเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเองแล้ว คุณยังอาจจะต้องรับโทษจากความสัมพันธ์ด้วย “ความสามารถของสมองของเราในการประมวลผลข้อมูลจะถูกจำกัดเมื่อเราใช้ทรัพยากรไปกับการรับรู้เพื่อระงับหรือตรวจสอบอารมณ์” (ด้วยเหตุนี้กลุ่ม Stanford จึงพบว่าการเก็บอารมณ์อาจทำให้เสียสมาธิได้) “แต่เมื่อเราเอาแต่พล่ามและพูดอะไรก็ตามที่เรารู้สึก” “เราก็อาจมีปัญหาได้เหมือนกัน”

มีผู้เชี่ยวชาญคนอื่นที่เห็นด้วย James Pennebaker ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาของสถาบันมหาวิทยาลัยเทกซัส กล่าวว่า “วิธีที่เราทำคือ เราต้องการอธิบายความรู้สึกของเราให้คนอื่นเห็นอย่างเป็นธรรมชาติ แต่ความจริงก็คือ บางครั้งสิ่งนี้อาจทำร้ายคนอื่นหรือสร้างความอับอายให้กับตัวเราเอง” และเมื่อคุณแชร์ความรู้สึกของคุณกับคนอื่น คุณเสี่ยงที่พวกเขาจะปฏิเสธหรือปฏิเสธความถูกต้องของสิ่งที่คุณบอก ซึ่งอาจสร้างความเสียหายได้ “ในสถานการณ์นั้น มันอาจจะแย่ยิ่งกว่าการที่คุณเก็บความรู้สึกไว้กับตัวเอง” เพนเนเบเกอร์กล่าว

เขากล่าวว่าการเช็คอารมณ์ของคุณอย่างละเอียดและประเมินอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นมายังไงจะมีประโยชน์มากกว่าการบอกออกไปว่าคุณรู้สึกอย่างไร “ถ้าคุณเอาแต่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ คุณมักจะพลาดประเด็น” เพนเนเบเกอร์กล่าว “การตรวจสอบเป็นสิ่งที่มีประโยชน์”

แน่นอนว่า การบอกความรู้สึกของคุณเป็นคำพูดสามารถช่วยให้คุณเข้าใจความรู้สึกเหล่านั้นได้ นี่คือเหตุผลที่การบำบัดทางจิตและรูปแบบอื่นๆ ของการบำบัดด้วยการพูดคุยซึ่งช่วยให้คุณสามารถแสดงอารมณ์ของคุณโดยไม่ต้องกลัวการถูกสังคมหรือเรื่องส่วนตัวย้อนกลับมา มันจึงมีประโยชน์มาก “แต่การวิจัยของผมพบว่าการใส่อารมณ์ของคุณโดยการเขียนลงไปสามารถแทนการพูดได้เหมือนกัน”

งานบางชิ้นของเพนเนเบเกอร์ แสดงให้เห็นว่าการเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ทางอารมณ์สามารถลดระดับความทุกข์และภาวะซึมเศร้าได้ แม้แต่ปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เขากล่าวว่าการเขียนความรู้สึกของคุณดูเหมือนจะให้ประโยชน์ทางชีวภาพ อารมณ์ และความรู้ความเข้าใจที่เทียบได้กับการแบ่งปันความรู้สึกของคุณด้วยวาจา โดยไม่ต้องเสี่ยงกับการทำให้ใครบางคนโกรธหรือทำให้ตัวเองรู้สึกงี่เง่าหรือถูกปฏิเสธ

“ไม่มีวิธีที่ถูกต้องในการเขียนเกี่ยวกับอารมณ์ของคุณ” เพนเนเบเกอร์กล่าว “แค่หาที่เงียบๆ แล้วทำแบบนั้นสัก 15 นาที 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์” เขาแนะนำให้คิดถึงสิ่งที่คุณรู้สึกและทำไมคุณถึงรู้สึก คุณสามารถเขียนความคิดของคุณด้วยมือเปล่าหรือบนคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ใช้นิ้วชี้ขึ้นไปบนอากาศ เขากล่าว

คำแนะนำบางอย่างของเพนเนเบเกอร์ เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การควบคุมอารมณ์ที่เรียกว่า emotion-regulation พูดง่ายๆ ก็คือ การประเมินใหม่เป็นวิธีการระบุและปรับเปลี่ยนสาเหตุพื้นฐานของอารมณ์ในลักษณะที่อาจทำให้คุณปล่อยวางได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณรู้สึกโกรธคนรักของคุณ การตระหนักว่าคุณหิวหรือเครียด—และปัจจัยเหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่คนรักของคุณทำ เป็นสาเหตุที่แท้จริงของความโกรธของคุณ—สามารถช่วยให้คุณเอาชนะความรู้สึกด้านลบในใจตัวเองได้

และแม้ว่าการประเมินใหม่อาจดูเหมือนเป็นการระงับอารมณ์ แต่การวิจัยชี้ให้เห็นว่ามีผลข้างเคียงเล็กน้อยกว่าการพยายามเพิกเฉยหรือซ่อนอารมณ์ไว้

การเปิดใจเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณอาจเป็นวิธีที่ดีในการทำความเข้าใจและจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้น แต่วิธี “เปิดเผยทั้งหมด” เพื่อแสดงอารมณ์ของคุณอาจไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเสมอไป


อ้างอิงจาก
Markham Heid. (2019). Is sharing your feelings always healthy. https://qz.com/quartzy/1548501/is-sharing-your-feelings-always-healthy.

0 0 votes
Article Rating

You Might Also Like

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x