HOW TO SELF DEVELOPMENT

ถอดกลยุทธ์ Gap Analysis เพื่อความสุข สู่การบรรลุเป้าหมายในชีวิต

ทำยังไงถึงจะมีความสุข?

พอกูเกิ้ลคำนี้แล้ว คุณอาจจะพบกับวิดีโอหรือบทความของไลฟ์โค้ชมากมาย
แต่ละคนก็มีข้อแนะนำและวิธีปฏิบัติ ที่หลากหลาย ต่างกันออกไป

บทความนี้จึงอยากชวนคุณมาดู
สิ่งที่คุณกำลังเป็นอยู่ตอนนี้ กับ สิ่งที่คุณอยากจะเป็น

ระยะห่างระหว่าง 2 สิ่งนี้ ถูกเรียกว่า ช่องว่าง (The Gap)

ยิ่งคุณสามารถปิดช่องว่างนี้ได้มากเท่าไหร่ คุณก็จะมีความสุขมากขึ้น

ฟังดูง่ายไหม แต่ทำยังไงถึงจะปิดเจ้าช่องว่างนี้ได้ล่ะ?

คุณได้ลองทำตามคำกล่าวอย่างเช่น “ทำงานให้หนักขึ้นสิ” หรือเปล่า
แม้คุณทำงานหนักเท่าที่จะทำได้ก็แล้ว แต่ไอเดียนี้ มันก็ยังไม่ได้ผล

วันนี้เราจะแนะนำขั้นตอนที่เรียกว่า การวิเคราะห์ช่องว่าง หรือ Gap Analysis
มันเป็นเฟรมเวิร์คที่พัฒนามาเพื่อใช้ในโลกธุรกิจ เพื่อขยายประสิทธิภาพให้กับบริษัท

อย่าเพิ่งปวดหัวไปเสียก่อนนะ

เพราะคุณเองก็สามารถใช้มันกับชีวิตส่วนตัวได้ เพื่อที่จะปิดช่องว่าง ระหว่าง สิ่งที่คุณเป็นอยู่ตอนนี้ กับ สิ่งที่เป็นความสุขของคุณ

ทำไมคุณควรถึงใส่ใจกับเรื่องนี้?

ใครๆก็สามารถตั้งเป้าหมายได้ แต่เป้าหมายโดยตัวมันเองนั้นแทบไม่มีความหมายอะไรเลย
การตั้งเป้าหมาย ไม่ได้ช่วยเปลี่ยนอะไร
เรา สามารถตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็น อีลอน มัสก์ คนต่อไปได้
แต่มันก็ไม่ได้มีผล จนกว่าเราจะทำอะไรสักอย่างเกี่ยวกับมัน

คุณต้องการ กระบวนการที่เป็นระบบ เพื่อที่ทำให้เป้าหมายของคุณสำเร็จ
ระบบที่การันตีว่าคุณมีความคืบหน้ามากขึ้น

ตรงนี้แหละที่ Gap Analysis จะเข้ามามีส่วน มันคือวิธีของการคิด และการกระทำ ที่จะนำพาคุณจาก จุดนี้ ไปถึง ที่นั่น

1. อะไรคือ ผลลัพท์สุดท้าย ที่คุณต้องการ ?

” วันหนึ่ง อลิซ ได้เดินมาถึงถนนที่มีทางแยก และเห็นแมวเชสเชียร์อยู่บนต้นไม้
หนูควรไปทางไหน? เธอถาม
แล้วเธอต้องการไปที่ไหนล่ะ? เจ้าแมวถามกลับ
หนูก็ไม่รู้ อลิซตอบ
เอ่อ งั้นก็ไม่ต้องสนหรอกว่าจะไปทางไหน เจ้าแมวว่า”

Alice in wonderland by Luis Carroll

ความชัดเจน คืออาวุธ

คุณไม่สามารถได้ในสิ่งที่คุณต้องการ จนกว่าคุณจะระบุได้ว่ามันคืออะไร

มันมีความต่างระหว่าง “ฉันต้องการจะลดน้ำหนัก” กับ “ฉันต้องการลดน้ำหนัก 5 กิโล ให้ได้ ก่อนปีใหม่ที่จะถึงนี้”
มันต่างกันระหว่าง “ฉันต้องการสร้างแบรนด์” กับ “ฉันต้องการมีรายชื่ออีเมล์ 5,000 รายชิ้อก่อนสิ้นปีนี้”

ฟังดูง่าย แต่บางคนปฏิเสธที่จะใส่ความเจาะจงและชัดเจนลงไป อาจเป็นวิธีจิตวิทยาที่ไม่ต้องการผูดมัดตัวเองให้มีความรับผิดชอบก็ได้

ไม่มีใครอยากรู้สึกล้มเหลว การตั้งเป้าหมายคลุมเครือคนจะใส่ผลลัพท์อะไรลงไปก็ได้ว่ามันเป็นชัยชนะ

แต่นี่แหละที่จะทำร้ายตัวคุณเอง

ตั้งเป้า เจาะจง ในสิ่งที่คุณต้องการ ในแบบที่ไม่มีข้อแม้หรือข้อกังขาว่าคุณทำมันสำเร็จแล้วหรือไม่

มีแค่ คุณได้ทำแล้ว หรือ ไม่ได้ทำ
คุณไม่สามารถหลอกตัวเองได้

2. ตอนนี้คุณอยู่ตรงไหน ?

คุณจำเป็นต้องรู้ให้ แน่นอน ว่า ตอนนี้คุณอยู่จุดไหน
และคุณต้องซื่อสัตย์กับตัวเอง อย่าดึงหมัดอะไรออกมาเพื่อทำให้อีโก้ที่มีอยู่ในตัวรู้สึกดีขึ้น

คือหมายความว่า ให้ยอมรับความจริง ถึงสถานการณ์ของคุณในตอนนี้ สิ่งที่คุณมีตอนนี้ และ ที่ไม่มีในตอนนี้
อย่าทำเหมือนว่า ตอนนี้ฉันก็ดีแล้ว สบายแล้ว ใครๆก็ชอบฉัน

คุณต้องการข้อมูลอันหนักแน่น ที่บ่งบอกถึงความเป็นจริง และคุณต้องการผู้แนะนำที่ไว้ใจได้ที่สามารถบอก ข้อดี ข้อเสีย เกี่ยวกับตัวคุณเอง
บางคนอาจจะบอกว่า “ฟังนะ คุณมันโครตเจ๋งเลย แต่บอกตรงๆคุณมันห่วยตรงนี้”
เจ็บไหมล่ะ? ใช่ มันจำเป็นที่ต้องมีความชัดเจน

เรามักเห็นผู้คนตั้งผลลัพท์แบบไม่สมจริงเสมอ
เช่นอยากจะทำรายได้วันละ 100,000 ภายใน 6 เดือน
ไม่ใช่ว่า เป็นไปไม่ได้ แต่ ตอนนี้คุณอยู่จุดไหน?
มันยากถ้างบทั้งตัวคุณมีอยู่ 5,000 โดยไม่มีรายได้ช่องทางอื่นๆ และไม่มีเมนทอร์คอยแนะนำ

ก่อนที่คุณจะปิดช่องว่าง คุณต้องรู้ความจริงก่อนว่าช่องว่างมันกว้างขนาดไหน
เมื่อคุณมองลงไปในหุบเหว ระหว่างคุณ กับ ความสุข คุณจะสามารถประเมินได้ว่าจะสร้างสะพานเชื่อมมันยังไง

3. อะไรคือสิ่งกีดขวาง ?

ตอนนี้คุณต้องระบุอุปสรรคหลักๆของคุณ และโฟกัสไปที่การพิชิตมันให้ได้

ก็เหมือนกับวิดีโอเกม บางเกมจะมีภารกิจให้เราทำ เพื่อปลดล็อคอะไรบางอย่าง แล้วเราก็ต้องโฟกัสกับสิ่งที่จะทำให้เราพิชิตภารกิจนี้ได้

เหมือนกัน กับการที่จะปิดช่องว่าง

เทคนิคหนึ่งที่เราใช้บ่อยคือ ถามว่า “ทำไม” ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ไปเรื่อยๆ
มันช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาที่แท้จริง รากเหง้าของปัญหาทั้งหมด

เช่น คุณอยากจะเปิดร้านขายของ แต่ยังไม่ได้เปิด
มาลองใช้กลยุทธ์ Why

ฉันยังไม่ได้เปิดร้าน
ทำไม?
ฉันไม่มีเงิน
ทำไม?
ฉันไม่มีงานทำ
ทำไม?
ฉันยังไม่ได้หางาน
ทำไม?
แถวบ้านฉันไม่มีรถสาธารณะที่น่าไว้ใจ

ตอนนี้คุณอาจอยู่ที่ไหนสักแห่ง เรารู้ว่ามันมีหลายร้อยพันปัญหาระหว่างทาง แต่ให้โฟกัสไปทีละปัญหา
คุณจำเป็นต้องรู้ให้ได้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร

นี่เป็นอีกตัวอย่าง

เบน ต้องการจะลดน้ำหนัก เขาเคยทำแล้วล้มเหลว และตอนนี้เขารู้ปัญหาแล้วว่าเขาไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
เบนอยู่ในครอบครัวที่ทุกคนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
พวกเขาทำเป็นเรื่องตลกเมื่อเบนพยายามจะลดน้ำหนัก พวกเขาทำอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และโทษว่าเป็นเพราะเขากินหมดเอง
เบนบรรลุได้ว่าหากเขาโฟกัสพลังทั้งหมดไปที่ตารางออกกำลังกาย มันก็ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ไม่ว่าเขาพยายามไปเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จจนกว่าจะแก้ปัญหาที่แท้จริงได้
เขาต้องการ การสนับสนุนจากครอบครัว ไม่ก็ย้ายออกมา
นี่แหละที่เรียกว่าเข้าใจอุปสรรคที่แท้จริง

4. มีวิธีแก้ปัญหาอะไรบ้างที่คุณคิดออก ?

ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องนั่ง แล้วระดมวิธีแก้ปัญหา
คุณกำลังจะต้องเจอกับหลากหลายกิ่งก้านของวิธีพิชิตอุปสรรค
แต่ในขณะที่คุณกำลังระดมไอเดีย คุณต้องระวัง 2 สิ่งที่มันสามารถซ่อนความก้าวหน้าของคุณเอาไว้ได้

อย่างแรกคือ การสรุปผลแบบผิดๆ

ดูคำพูดนี้
แถวบ้านฉันไม่มีรถสาธารณะที่น่าไว้ใจ ฉันเลยออกไปหางานไม่ได้

ผลสรุปคือ แถวบ้านคุณต้องมีรถสาธารณะที่น่าไว้ใจ ถึงจะออกไปหางานได้

มันถูกต้องไหม?

ไม่เลย มีงานเป็นโหล ที่คุณสามารถทำขณะอยู่ที่บ้านได้

ปัญหาอย่างที่สองคือ ผู้คนโฟกัสไปที่ผลกระทบภายนอกมากเกินไป

เราทุกคน คือเราที่เป็นอยู่ เพราะการตัดสินใจเลือกของตัวเราเอง
รับผิดชอบผลของการเลือกนั้น แล้วคิดหนทางแก้ปัญหา

ตัวอย่างของการระดมความคิด

  • คุณสามารถหางานฟรีแลนซ์ หรืองานที่ทำออนไลน์ได้ไหม ?
  • คุณสามารถเดินทางไปทำงานโดยใช้รถสาธารณะได้ไหม ?
  • คุณมีเพื่อนหรือแอพเรียกรถที่พาคุณไปยังสถานที่ทำงานไหม ?
  • คุณสามารถหางานที่ระยะทางเดินไปหรือปั่นจักรยานไปได้ไหม ?

5. ใครคือคนที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ที่คุณนึกออก?

ฉันชอบเดินทางลัด เร็วและง่าย มันดีกว่าเสมอ
นี่คือเหตุผลของ ปุ่มข้ามตอนต้น (Skip Intro) บนเน็ตฟลิกซ์ มันเป็นการสร้างสรรค์งานที่ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

ก็เหมือนกับในโลกธุรกิจ

ฉันไม่มีเวลามานั่งลองผิดลองถูก และไม่ชอบเรียนรู้อะไรที่มันยากๆ
โปรดให้บทเรียนกับฉันโดยปราศจากความเจ็บปวดเถิด

คุณมีปัญหาหรอ? มีใครบางคนเจอมาก่อนแล้วและได้แก้ปัญหาเอาไว้แล้ว
เรียนรู้จากพวกเขาแทนการพยายามแก้ไขด้วยตัวเองสิ

มันเป็นวิธีลัดที่จะปิดช่องว่างนั้นไงล่ะ

ลองดูสังคมรอบๆตัวคุณ มีใครไหมที่อาจจะรู้วิธีแก้ปัญหานั้น?

ไม่ต้องไปอายกับการขอความช่วยเหลือ
บอกตามตรง ฉันเกลียดที่ต้องไปขอความช่วยเหลือจากผู้คน
ฉันไม่ชอบความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณคนอะไรกับใครทั้งนั้น

คุณว่ามันเกี่ยวกันไหม?

แต่ถ้าคุณไม่ต้องการไปขอความช่วยเหลือ คุณก็อาจจะไม่ก้าวผ่านอุปสรรคของคุณได้

อีกทางเลือกหนึ่งคือ จ่ายเพื่อให้ได้คำตอบ

สมมติว่าคุณเป็นสตาร์ทอัพ และต้องการระดมเงินทุน แต่ไม่มีเวลาพอที่จะทำและเรียนรู้ที่จะเพิ่มเงินได้

คุณต้องการเงินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

มีคนบนโลกอินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์บางแห่งที่มีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะทาง คุณสามารถจ่ายเพื่อให้เขาช่วยแก้ไขปัญหาของคุณได้
แต่บางคนกลับมีทัศนคติประหลาดว่าการจ่ายเงินเพื่อได้มาซึ่งคำแนะนำดีๆ เหมือนว่ามันเป็นการโกงหรืออะไรทำนองนั้น

ตัวอย่าง

สถานการณ์ 1:
คุณต้องระดมเงินทุน และจมอยู่กับการหาข้อมูลออนไลน์ เพราะว่าคุณไม่ต้องการโกง คุณจบลงด้วยการไม่ได้รับเงินทุน และการนำเสนอก็ดูไม่ค่อยได้เรื่อง

สถานการณ์ 2:
คุณต้องระดมเงินทุน คุณใช้เงินไป 60,000 สำหรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ คนที่เคยทำมาก่อน และเขาก็ช่วยปรับปรุงการนำเสนอให้คุณ
คุณเสียไป 60,000
แต่ระดมเงินได้ถึง 30 ล้าน

บางทีมันก็คุ้มค่าสำหรับการจ่ายเพื่อให้ได้ลงในสนาม

6. ออกแบบเครื่องมือ

ตัวเราคือระบบขนาดใหญ่

คุณไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทั้งหมดได้ โดยการทำบางสิ่งเพียงครั้งเดียว มันต้องมีการกระทำเป็นชุด และทำอย่างต่อเนื่อง

นี้เป็นส่วนที่คุณต้องวางแผนและออกแบบ เครื่องจักร ของคุณขึ้นมาเอง
คอนเซ็ปนี้มาจาก Eben Pagan เรียกว่า ความคิดที่มันหลีกเลี่ยงไม่ได้

คุณจะออกแบบระบบที่การันตีผลลัพท์ท้ายสุดของคุณออกมาได้ยังไง?
อย่าเพิ่งคิดถึงความเป็นจริงในตอนนี้
ถ้าหากคุณไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ คุณจะออกแบบระบบออกมาเป็นอะไร?

ให้ออกแบบเครื่องจักรที่สมบูรณ์แบบโดยปราศจากข้อจำกัด

ตัวอย่าง คนๆหนึ่งต้องการลงแข่งกีฬายูโดให้ชนะรางวัลในระดับเขต

เขาต้องพัฒนาระบบขึ้นมาถึงจะการันตีผลลัพท์ได้?

  • ไปเข้าคลาส 8 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ยกน้ำหนัก 2 ครั้งต่อสัปดาห์
  • เข้าเรียนคลาสส่วนตัวทุกสัปดาห์
  • ทำโยคะ 30 นาทีทุกวันเพื่อให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น

เขารู้ดีว่าถ้าเขาทำตามระบบนี้ จะทำให้เขามีศักยภาพชนะได้ จริงๆแล้วเขาเป็นคนการันตีเอง

ปัญหาคือ เขาไม่สามารถทำตามกฎที่วางไว้ในระบบ
เขาจึงออกแบบระบบที่สมบูรณ์ขึ้น โดยลดขนาดลงมาให้อิงกับความเป็นจริง
อย่างเช่น แทนที่จะเข้าคลาสส่วนตัวทุกสัปดาห์ เขาสามารถเข้าได้ทุกเดือน แทนที่จะไปเข้าคลาสได้ 8 ครั้งต่อสัปดาห์ เขาเริ่มที่ 5 ครั้งก่อน

คีย์หลักคือให้ระบบมันจบที่ ความเป็นจริง และดูว่ามันสามารถพาคุณใกล้เป้าหมายขึ้นไหม เมื่อคุณเห็นผลลัพท์แล้ว คุณก็สามารถเพิ่มกิจกรรมเข้าไปในระบบได้

7. ลงมือ

เครื่องมือนั้นจะไม่ได้ผลเลย หากคุณไม่ลงมือทำ
คุณต้องเปิดเครื่องจักรซะแล้วเริ่มใช้งานมันเพื่อปิดช่องว่างนั้น

คือหมายถึง คุณต้องทำงาน

ข้อแนะนำคือ ให้เริ่มต้นช้าๆก็ได้

8. วัดผล

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องจักรที่คุณออกแบบนั้นใช้ได้ผล? คุณต้องวัดจากผลลัพท์

ข้อผิดพลาดใหญ่ที่เห็นคือ
ตัวแปรที่ล้าหลัง คือสิ่งที่เปลี่ยนไปหลังจากที่คุณได้ลงมือทำอะไรบางอย่างไประยะหนึ่งแล้ว

ตัวแปรที่ล้าหลัง : น้ำหนักของคุณ
คุณต้องโฟกัสและวัดผลการกระทำที่ทำให้คุณมีน้ำหนักที่เปลี่ยนไป
ตัวแปรหลักๆที่มีผลกระทบต่อน้ำหนักของคุณ

  • คุณนอนวันละกี่ชชั่วโมง
  • คุณกินไปกี่แคลอรี่
  • คุณออกกำลังกายบ่อยขนาดไหน
  • คุณเดินวันละกี่ก้าว
    และอื่นๆ

สมมติว่าคุณต้องการให้ช่องยูทูปของคุณเติบโต

ตัวแปรที่ล้าหลัง = จำนวนคนที่ติดตามช่องของคุณ
ตัวแปรหลักที่มีผลต่อจำนวนผู้ติดตามบนช่องยูทูปของคุณ

  • คุณโพสวิดีโอสัปดาห์ละกี่คลิป
  • คุณมีคอลแลปกับช่องอื่นๆเดือนละกี่คลิป
  • คุณมีคอมเม้นท์วิดีโอมากน้อยขนาดไหนเมื่อเทียบกับช่องที่คล้ายๆกัน

ติดตามกิจกรรมของตัวแปรหลักพวกนี้แล้วคอยดูถ้ามันส่งผลต่อจำนวนผู้ติดตามของคุณ

ในการตัดสินว่าเครื่องจักรของคุณทำงานได้ผล คุณต้องวัดผลกิจกรรมต่างๆที่นำพาคุณให้คุณได้ปิดช่องว่างนั้น

9. ปรับปรุงผลลัพท์

คุณได้ลงมือทำแล้ว คุณได้วัดผลข้อมูลแล้ว
ช่องว่างนั้นได้ถูกปิดแล้วหรือยัง? คุณได้เข้าใกล้เป้าหมายของคุณแล้วใช่ไหม?

นี่คือขั้นตอนที่สำคัญ

ถ้าหากเครื่องมือที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล คุณจำเป็นต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ หรือเพิ่มกิจกรรมเข้าไป
สังเกตว่าผู้คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดในเรื่องของปริมาณกิจกรรม แล้วบอกว่าเป็นที่กลยุทธ์แย่
เหมือนกับบางคนทำงานอาทิตย์ละครั้ง และบ่นว่าไม่เกิดผลลัพท์อะไร
พวกเขายังทำไม่พอ หรือบางคนทำธุรกิจออนไลน์แล้วล้มเหลว แล้วพูดว่าคนไม่ซื้อของออนไลน์กันแล้ว คนหายไปไหนกันหมด

คุณจำเป็นต้องดูไปที่ข้อมูล หารูปแบบ แล้วปรับปรุงกลยุทธ์และกิจกรรมของคุณให้ดีขึ้น

บทสรุป

มีเป็นหลายพันวิธีที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จ
แต่การสอนและคำแนะนำสมัยนี้ก็ดูจะง่ายไป อย่างที่พูดกันว่า ต้องมีพลังใจ และ ความมุ่งมั่น

สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การแก้ปัญหา
ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในจุดที่คุณอยากเป็น ให้นั่งลง แล้วถามตัวเองว่าทำไม

แล้วจึงระดมความคิด ทำการทดลอง ติดตามข้อมูล ปิดช่องว่าง


อ้างอิง : https://charlesngo.com/gap-analysis/

5 1 vote
Article Rating

You Might Also Like

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x