HOW TO SELF DEVELOPMENT

ปฐมบทของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยโมเดล CORD

ปัจจุบันหลายๆสิ่งได้เปลี่ยนแปลงไป เทคนิคการบริหารเวลาแบบเก่านั้นไม่เพียงพอที่จะทําให้เรามีความแน่ใจว่าตัวเราเองมีความเข้าใจดีเกี่ยวกับงาน และโครงการต่าง ๆ ที่เราทำอยู่
บางทีเราอาจจะทำและตอบสนองงานได้อย่างรวดเร็ว และดูมีความรับผิดชอบต่อการได้รับข้อมูลปริมาณท่วมท้นที่ชอบระเบิดใส่เราตลอดเวลา

วันนี้เราจะมาแนะนําให้คุณรู้จักกับพฤติกรรม 4 ประการที่เป็นรากฐานสําคัญของการควบคุมการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นั่นก็คือ โมเดล CORD จากตอนหนึ่งของหนังสือ Productivity Ninja ของคุณเกรแฮม ออลคอต

โมเดลนี้จะไม่ค่อยเกี่ยวกับการจัดการเวลาหรือจัดการ to do list
แต่จะเกี่ยวกับ การจัดการความสนใจ การจัดการพลัง และเพิ่มการโฟกัส ของตัวเองเสียมากกว่า
เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้อยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
เราจะทิ้งวิธีการแบบเก่า อย่างการติ๊กเครื่องหมายหน้ารายการจนกว่าจะทำเสร็จออกไป – การทําให้ทุกอย่างให้เสร็จไม่น่าจะใช่ความทะเยอทะยานที่แท้จริงเท่าไหร่ในยุคที่ข้อมูลท่วมท้น information overloaded

เรารู้ว่าคุณอาจจะมีอารมณ์เกี่ยวกับความคิดที่ว่าจะทำให้เสร็จ
การติ๊กทุกอย่างออกจากรายการ เป็นเรื่องธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสําคัญของความเครียดเนื่องจากคุณรู้ว่าคุณไม่สามารถควบคุมปริมาณของข้อมูลใหม่ๆที่พุ่งมาที่คุณ และความกลัวที่จะรู้สึกล้นหลาม
ดังนั้นโมเดล CORD จึงเป็นทั้ง สิ่งที่จําเป็น และ สิ่งที่ช่วยปลดปล่อย เนื่องจากโมเดลนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมที่สําคัญ 4 อย่างที่จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทํางานของคุณตลอดไป และทําให้คุณกลับมาควบคุมตัวเองได้

C – Capture and Collect จับภาพและรวบรวม
O – Organise จัดระเบียบ
R – Review รีวิว
D – Do ทํา

[C] – CAPTURE AND COLLECT
จับภาพและรวบรวม

ต้องมุ่งไปที่การรับข้อมูลต่างๆทั้งหมด
ไม่ว่าจะการกระทําที่เกิดขึ้นระหว่างการสนทนากับเพื่อนร่วมงาน งานเอกสาร การแจ้งเตือนบนโซเชียลมีเดีย และแน่นอนกล่องจดหมายอีเมล การทำให้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นศูนย์ นําไปสู่ความสงบ และการเตรียมพร้อมของความสงบ เป็นสิ่งที่นินจาต้องการ นี่อาจเป็นความคิดของคุณเอง

แต่หากว่าคุณมีตัว C ที่ไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้จะนําไปสู่ …
ความรู้สึกท่วมท้น เมื่อการรับรู้ข้อมูลใหม่ๆมาถึง และไม่ได้รับการจัดการ
ความรู้สึกไม่แน่ใจในสิ่งที่เราควรทํา
และความรู้สึกเครียดที่เราอาจพลาดสิ่งต่าง ๆไป

[O] – ORGANISE
จัด ระเบียบ

เมื่อเราได้ภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว นิสัยในการจัดระเบียบเป็นสิ่งที่เราเริ่มถามคําถามที่สําคัญเพื่อให้แน่ใจว่าเราได้โฟกัสตรงจุดและสบายใจขึ้น มันเกี่ยวกับการใช้ความคิดที่สอดคล้อง และนิสัยของการพัฒนา ที่พาคุณไปสู่หัวใจของการตัดสินใจทําอย่างรวดเร็วและง่ายที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

แต่หากว่าคุณมีตัว O ที่ไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้จะนําไปสู่ …
การขาดความชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาที่สิ่งต่าง ๆต้องใช้
งานไหนมีความสำคัญที่สุด
และงานที่ไม่ได้มีอยู่จริงในมือเรา

[R] – REVIEW
ทบทวน

นิสัยการทบทวนตรวจสอบอาจประกอบด้วย การมีรายการตรวจสอบรายวัน และรายสัปดาห์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณดึงความสนใจและมุ่งเน้นเพื่อประสิทธิภาพ สติ และความคล่องตัวสูงสุด
หากคุณทำงานที่ต้องใช้ความรู้ เช่น การจัดการกับข้อมูล และประมวลผล ให้เจ้านายและผู้ใช้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
ฉะนั้น นิสัยการตรวจสอบจะทำให้ความเป็นเจ้านายที่อยู่ภายในตัวเรา มีโอกาสเปล่งประกาย และให้โอกาสเราก้าวออกมาจากความสับสนวุ่นวายเพื่อค้นหาความชัดเจนได้

แต่หากว่าคุณมีตัว R ที่ไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้จะนําไปสู่ …
ความรู้สึกไม่แน่ใจว่าเราทำงานของเราได้ดีที่สุด
ความไม่สามารถในการวางมุมมองของสิ่งต่างๆ
ปริมาณความเครียดที่นําพาเราไปสู่ความไร้ประสิทธิภาพ
ความรู้สึกแพนิค วิตกกังวล
และมีปฏิกิริยาเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ในการทํางาน

[D] – DO
ทำ

แน่นอนว่า นิสัยทั้งหมดข้างต้นมีการใช้งานน้อยหรือไม่ค่อยมีค่า เว้นแต่เราจะมีนิสัยในการปฏิบัตินั่นแหละ !
นิสัย นักปฏิบัติ จะมุ่งเน้นไปที่การทํางานเกี่ยวกับความสนใจ ระดับพลังงานของคุณ ตัวเลือก กลยุทธ์ต่างๆ และโมเมนตัมของการได้ประสิทธิภาพสูงสุด
นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติและหลีกเลี่ยงการผัดวันประกันพรุ่ง ทำตัวเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อให้รู้สึกเชิงบวกกับงาน

แต่หากว่าคุณมีตัว D ที่ไม่แข็งแรง สิ่งเหล่านี้จะนําไปสู่ …
งานกองพะเนินที่ยังไม่เสร็จ!
บางครั้งที่เรากลับกลายเป็นต่อต้านการทําจริงด้วยความที่ไปใช้เวลากับการจัดระเบียบมากไปหรือคิดมากไป
สิ่งนี้อาจถูกมองว่าเป็นการ ‘ผัดวันประกันพรุ่ง’ และมันจะหมดพลังไปเลยถ้ามีคำนี้เข้ามา – ก็อย่างที่เราทุกคนรู้!

หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีงานยุ่งอยู่ตลอด
และแทบไม่มีเวลาเหลือให้กับชีวิตส่วนตัว
หนังสือ Productivity Ninja น่าจะช่วยได้ มีเวอร์ชั่นแปลไทยแล้วของสำนักพิมพ์วีเลิร์น

แล้วคุณจะมีเวลาเหลือในชีวิตมากขึ้นถ้ารู้ “ทริค” ในการทำงาน 🙂

อ้างอิง : https://thinkproductive.co.uk/cord-productivity-model-introduction/

0 0 votes
Article Rating

You Might Also Like

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x