พวกเราคงจะเคยอ่านหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การบริหารจัดการเวลามาจากที่ต่างๆมากมาย
(อย่างน้อยก็บทความในบล็อกนี้บ้างนะคะ)
เรารู้สึกว่ามันมีอาการคล้ายๆกับ information overloaded คือเหมือนในหัวถูกถาโถมไปด้วยเคล็ดลับต่างๆมากมาย วิธีดีๆมากมายนับไม่ถ้วน
แต่แล้วพอเอาเข้าจริงก็เหมือนกับจะลืมพวกเคล็ดลับเหล่านั้นไป
มีหนังสือเล่มหนึงที่น่าสนใจของคุณเควิน ครูส ได้รวบรวมเคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ที่แตกต่างจากเล่มอื่นๆตรงที่ว่า มันมีวิธีช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าและพร้อมกับความสุขของเราในเวลาเดียวกัน ฟังแล้วดูไม่เครียดดีใช่ไหมคะ บางทีเล่มนี้มันอาจจะเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งที่เราได้นำเคล็ดลับไปปรับใช้ในยุคนี้ก็ได้
มีเวอร์ชั่นภาษาไทยค่ะ
ส่วนเทคนิคบริหารเวลามีอะไรบ้าง หยิบมาให้ดูคร่าวๆบางข้อนะคะ
#1 พลังของเลข 1440
ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไปยังไง ถ้าทุกวันคุณรู้สึกถึง 1,440 นาที ที่มีอยู่ในแต่ละวัน
แค่ 1,440 นาทีในแต่ละวัน ถ้าทำให้แคบลงไปอีก คุณใช้เวลา 8 ชั่วโมงต่อวันในการทำงาน ซึ่งก็คือ 480 นาที
มีสิ่งที่ต้องทำมากมาย คุณจะสามารถกำจัดสิ่งรบกวนต่างๆออกไปได้มากน้อยแค่ไหน คุณจะทำงานสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าคุณนับทุกนาทีในแต่ละวันของคุณ
กล่าวตรงๆคือ เวลาเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดที่คุณมี
ลองทำดู :
ให้วางเลข “1140” เอาไว้ที่หน้าออฟฟิศหรือบริเวณที่ทำงาน เพื่อย้ำถึง เวลาที่เรามีจำกัดในแต่ละวัน
#2 พลังของการจัดลำดับความสำคัญ ที่เหมาะสม
คุณจะเป็นยังไงถ้าได้เคลียร์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เสร็จไปเลย
ผู้คนดูเหมือนจะไม่มีสมาธิเมื่อพวกเขามีหลายๆสิ่งที่จะต้องทำ พวกเขาชอบทำสิ่งที่ง่ายๆก่อน และชอบเลี่ยงหลายๆสิ่งที่สำคัญไป
ในตอนนี้ ถ้ามีเป้าหมายหนึ่งเดียวที่จะเปลี่ยนชีวิตคุณได้ สิ่งนั้นคืออะไร? และงานอะไรที่มันสำคัญที่สุดล่ะ?
จำไว้นะคะว่า มันไม่ได้เกี่ยวกับความรู้สึกว่ามีประสิทธิภาพเลย (ทำหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน หรือทำพวกสิ่งไม่สำคัญที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ) แต่มันเกี่ยวกับการ เกิดประสิทธิผล (ทำในสิ่งที่เกิดความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่)
ลองทำดู :
ในทุกๆวัน ให้เริ่มต้นด้วยการทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน
#3 จะเครียดน้อยลงแค่ไหนถ้าเกิดคุณรู้สึกว่าไม่ต้องทำตาม to do list
คุณคิดไหมว่าสตีฟ จ็อบส์ มี to do list อยู่กับตัว และครุ่นคิดตลอดเวลาว่า งานต่อไปใน list คืออะไร?
คุณคิดว่ามันจริงไหมที่ บิล เกตส์, วอร์เรน บัฟเฟต, และคนเจ๋งๆคนอื่นๆจะยึดติดกับ to do list
To do list (รายชื่อสิ่งที่ต้องทำ) เป็นสิ่งที่ดีในการจัดการงานต่างๆ มันเป็นประเภทเดียวกับพวก wish lists (รายชื่อสิ่งที่อยากได้)
ในหลายๆครั้งที่คุณไม่สามารถได้สิ่งที่อยู่รายการ wish list ทั้งหมด
ก็เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของรายการใน to do list
คุณจะเริ่มรู้สึกล้นๆ และเริ่มเครียด ทำให้คุณเริ่มเชื่อมโยงกับความรู้สึกแย่กับสิ่งที่ยังทำไม่สำเร็จใน to do list ต่างๆ นั่นเอง
งั้นทำยังไงแทนได้ล่ะ?
คุณสามารถใช้ปฏิทินได้
ถ้ามีสิ่งที่สำคัญที่ต้องทำ มันก็ควรอยู่บนปฏิทิน และกำหนดเวลาที่จะทำมันให้เสร็จได้
ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ควรใช้ to do list นะคะ มันยังเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการแพลนงานอยู่
แต่อย่างไรก็ตาม ใช้ปฏิทินในการวางแผนวัน และสัปดาห์ของคุณ
และทำตามแพลนนั้น มันจะช่วยให้เราแน่ใจว่าเราใช้เวลาไปกับโปรเจ็กต์ที่สำคัญจริงๆ
ลองทำดู:
ทำงานตามปฏิทินของคุณ ไม่ใช่ to do list
#4 คำสาปของการผัดวันประกันพรุ่ง
จินตนาการว่าถ้าคุณสามารถฝึกจิตให้ตัวเองไม่ผัดวันประกันพรุ่งนี้ ชีวิตคุณจะเปลี่ยนไปยังไง
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจำไว้ว่าการผัดวันประกันพรุ่งนั้นไม่ได้เกี่ยวกับความขี้เกียจ มันเป็นการผัดไปทำสิ่งที่พึงพอใจมากกว่าก่อนทำสิ่งที่พึงพอใจน้อยกว่าในเวลานั้น
อาจมีความเป็นไปได้ 2 อย่างว่าทำไมถึงผัด
- ไม่มีแรงบันดาลใจ
- คุณด้อยค่า อารมณ์ปัจจุบัน กับ อารมณ์ในอนาคต ของตัวเอง ทั้งที่ตั้งเป้าหมายไว้แล้ว
ข้อแรกนั้นชัดเจน แต่ข้อสอง หมายความว่ายังไง? พวกเราพยายามคิดถึงตัวเองในอนาคต เหมือนกับว่า จะมีใครมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆทั้งหมดที่เราสร้างขึ้นมา และในเวลาเดียวกัน ตัวเองในปัจจุบันของเราจึงไม่ค่อยรู้สึกต้องรับผิดชอบของการกระทำต่างๆ
ลองทำดู:
เป็นคนที่คุณอยากเป็นในอนาคต
ฝันให้ใหญ่พอที่จะทำลายความผัดวันประกันพรุ่ง
อย่าให้ตัวเองในอนาคตมาทำลายคุณ
ข้อมูลดีมากเลยค่ะ จะนำไปปรับใช้ในชีวิตนะคะ