ความเหงาไม่ได้เป็นปัญหาแค่กับผู้สูงอายุ มันเป็นปัญหาของวัยรุ่นด้วยเช่นกัน…
ผู้สูงอายุหลายคนมีปัญหาทางด้านสุขภาพร่างกายที่ด้อยลง ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีความมั่นใจเกี่ยวกับการเดินทางและการเข้าสังคมน้อยกว่าแต่ก่อน ความเหงาได้ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุกว่าล้านคนทั่วประเทศอังกฤษ มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่คนเดียวและหนึ่งในสิบคนที่อายุมากกว่า 65 บอกว่าพวกเขารู้สึกเหงาอยู่ตลอดเวลาหรือบ่อยครั้ง และยังมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกเหงาอาจทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกายที่มีอยู่เช่นความอ่อนแอหรือความเจ็บปวดเรื้อรังนั้นแย่ลง
ทว่าขณะที่การรับรู้เกี่ยวกับความเหงาในหมู่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รายงานของ NSPCC เปิดเผยว่าในปี 2559-17 Childline ได้ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนกว่า 4,000 คนเกี่ยวกับความเหงา นักศึกษาก็มีปัญหานี้เช่นกันโดยเกือบครึ่งยอมรับว่ารู้สึกเหงาในช่วงเวลาเรียนที่มหาวิทยาลัย อันที่จริงจากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยชี้ให้เห็นว่าความเหงาเป็นตัวการหนึ่งของความทุกข์ใจ
ปัญหาทางสังคม
ความเหงาไม่เพียงเป็นปัญหาต่อสุขภาพ แต่เป็นปัญหาสังคมด้วย นั่นคือเหตุผลที่นักจิตวิทยาสังคมตั้งเป้าหมายที่จะค้นหาสาเหตุทางสังคมของความเหงาและทำความเข้าใจว่าทำไมผู้คนเริ่มรู้สึกเหงาตั้งแต่แรก คนทุกวัยสามารถเผชิญกับความยากลำบากเมื่อต้องปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตหรือแสวงหาความรู้สึกมีส่วนร่วมในหมู่คนอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายและความสนใจคล้ายๆกัน
คนหนุ่มสาวก็พบกับช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับที่ผู้สูงอายุก็เคยผ่านมา ไม่ว่าพวกเขาจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัยหรือที่ทำงาน หรือมีปัญหากับเพื่อนหรือครอบครัวคนหนุ่มสาวส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับกับ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลาย ๆ จุดตลอดช่วงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
การเปลี่ยนผ่านจากชีวิตช่วงหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งมักหมายถึงการเปลี่ยนอัตลักษณ์ ซึ่งท้าทายความรู้สึกของตัวเรา การสร้างเอกลักษณ์ใหม่อาจใช้เวลาเช่นเดียวกับการที่สามารถค้นหาและเชื่อมโยงกับผู้อื่นที่ดูเหมือนจะมีความคิดคล้ายๆเราหรือมีส่วนที่มีความสนใจหรือเป้าหมายใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะแก่หรืออายุน้อยคนส่วนใหญ่ก็มีความต้องการอย่างมากที่จะรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม และการเชื่อมต่อกับผู้อื่นที่มีจิตใจหรือนิสัยคล้ายๆกัน
ทางออกทางสังคม
ชุมชนสามารถจัดกิจกรรมให้ความรู้สึกถึงการมีตัวตนและการมีส่วนร่วมซึ่งช่วยปกป้องผู้คนจากความรู้สึกโดดเดี่ยวในยามที่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มทางกายภาพ เช่นละแวกบ้านหรือมหาวิทยาลัย หรือชุมชนของคนที่แบ่งปันประสบการณ์ ความชอบหรือวัฒนธรรม ร่วมกัน การมีศูนย์กลางของผู้คนที่จะเชื่อมต่อกันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ของเรา
ชุมชนอุปถัมภ์ (Fostering community) เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะจัดการกับความเหงา การนำคนแก่และคนหนุ่มสาวมารวมกันสามารถช่วยจัดการกับความเหงาผ่านการเรียนรู้ของชีวิตโดยการระบุความสนใจร่วมกันที่แบ่งปันกันข้ามรุ่น กิจกรรมต่าง ๆ เช่นการทำสวน การถ่ายภาพ หรือแบ่งปันชาสักถ้วยสามารถจุดประกายมิตรภาพที่ครอบคลุมช่วงอายุและเสริมสร้างความรู้สึกการมีส่วนร่วม
ตัวอย่าง eScouts เป็นศูนย์การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้แบบผสมผสาน ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วยุโรปมีคนหนุ่มสาวเกือบ 100 คนที่สอนทักษะผู้สูงอายุกว่า 420 ทักษะที่จำเป็นในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต การแลกเปลี่ยนได้ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการรวมกันทางสังคมในหมู่เด็กและผู้ใหญ่ และองค์กรการกุศล Magic Me ในกรุงลอนดอนนั้นได้ดำเนินโครงการศิลปะระหว่างเจเนเรชั่นแบบผสมผสาน และทำงานร่วมกับโรงเรียน บ้านพัก และชุมชนเพื่อนำผู้คนทุกวัยเข้ากิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยกัน
โครงการเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมเพื่อลดความเหงาและโดดเดี่ยวในผู้สูงอายุ แต่คนอายุน้อยก็จะได้รับประโยชน์เช่นเดียวกัน ได้รับโอกาสในการเชื่อมต่อกับชุมชนและสร้างมิตรภาพที่คุ้มค่า ถึงกระนั้นโครงการของชุมชนเพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถแก้ปัญหาความเหงาได้ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ในการที่จะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงโครงการนั้นจะต้องประกอบด้วยผู้สูงอายุและผู้เยาว์ ไม่ใช่สร้างให้พวกเขาขึ้นมาเฉยๆ ต้องใช้เวลาและพื้นที่ในการพัฒนา และทรัพยากรที่เหมาะสม เช่นศูนย์ชุมชนและอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้
ยิ่งไปกว่านั้นปัจจัยขนาดใหญ่ เช่นความยากจนและความไม่เท่าเทียมสามารถเป็นเชื้อเพลิงแห่งความอ้างว้างให้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ โครงการของชุมชนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถระบุสาเหตุเหล่านี้ได้แม้ว่าพวกเขาจะให้โอกาสเด็กและผู้ใหญ่ในการเชื่อมต่อกันและสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม ด้วยเหตุนี้กลุ่มเยาวชน โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจึงควรสร้างโอกาสให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับคนหนุ่มสาวในการปฏิสัมพันธ์กับผู้สูงวัย – สุดท้ายทั้งคู่จะได้รับประโยชน์
อ้างอิงจาก: https://www.weforum.org/agenda/2018/03/loneliness-is-not-just-an-issue-in-old-age-young-people-suffer-too