LIFESTYLES

หลักการยศาตร์ Egonomic 8 ข้อ

ตั้งแต่ช่วงที่สังคมเราเริ่มทำงานกันที่บ้านมากขึ้น พวกเราคงเคยเห็นคำว่า Ergonomic ผ่านๆตากันมาบ้างใช่ไหมคะ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ergonomic คืออะไร

Ergonomic ในภาษาไทยเราใช้คำว่า การยศาตร์ ที่มีความหมายในเชิงสุขภาพ ฟังแล้วอาจไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ แต่นี่เป็นศัพท์ในสาขา Health Sciences ที่มีการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาอย่างจริงจังทั้งในและต่างประเทศ (ของไทยเราเองก็มีสมาคมการยศาสตร์ไทยด้วย http://www.est.or.th/)

เรื่องของ ergonomics นั้นสามารถสรุปออกมาได้หลายหัวข้อ ตั้งแต่การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน การออกแบบสถานที่ทำงาน ฯลฯ โดยประเด็นหลักๆคือเรื่องที่เกี่ยวกับการทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานของคนดีขึ้น ซึ่งส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายและการบาดเจ็บจากการทำงาน ซึ่งคุณสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน หรือที่อื่นๆได้

วันนี้ BB ก็เลยหยิบ 8 หลักที่ปฎิบัติง่ายๆในทางกายภาพมาค่ะ

1 ทำงานในท่าที่เหมาะสม

  • เพื่อรักษาลักษณะตามธรรมชาติของกระดูกสันหลังของเรา

กระดูกสันหลังของคนเราจะมีลักษณะที่เรียกว่า S-Curve คือรูปทรงคล้ายตัว S
มันเป็นเรื่องสำคัญทีเดียวที่เราควรรักษาสภาพหลังของตัวเองให้มีลักษณะตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะนั่งหรือยืน ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดคือหลังส่วนล่าง

เมื่อต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ หากนั่งไม่ถูกท่าหรือนั่งหลังงอ จะทำให้หลังเรามีลักษณะเป็น C-Curve ทำให้เรารู้สึกมีอาการตึงที่หลัง ฉะนั้นการมีพนักพิงที่ดีสามารถช่วยได้

อีกเคสคือการก้มไม่ถูกท่า จะทำให้เป็นเกิดลักษณะ Inverted V-Curve หรือตัว V กลับหัว ยิ่งทำให้หลังเกิดการตึงมากขึ้นไปอีก
ถึงแม้จะไม่ได้ก้มยกของหนักก็ตาม แต่การก้มตัวจะสร้างแรงกดบนกระดูกสันหลังเราได้มาก
เราอาจจะใช้เครื่องทุ่นแรงที่ช่วยยกหรือดันของขึ้นมาหาเรา หรือหากจำเป็นต้องก้ม ก็อาจจะย่อเข่าลงไปเพื่อไม่ให้หลังโค้งงอ

  • ยืดคอให้ตรง

กระดูกที่ลำคอก็เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง การหันผิดท่าจะทำให้เกิดอาการตึงได้
วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือจัดวางอุปกรณ์ทั้งหลายให้คุณสามารถทำงานในท่าทางที่เหมาะสมได้

  • วางศอกไว้ด้านข้างลำตัว

ท่าทางที่ถูกต้องสำหรับการวางแขนคือเก็บศอกไว้ด้านข้างลำตัวสบายๆให้ตรงกับหัวใหล่
คุณนึกภาพออกใช่ไหมคะ แต่ในความเป็นจริงแล้วบางทีเราไม่ค่อยทำอย่างนั้นกัน
อย่างตอนที่หยิบของข้างหน้าตัวเอง มันพออยู่ในระดับสูงที่จะเอื้อมถึง เรากลับขี้เกียจไปหยิบโต๊ะหรือบันได้มายืนต่อให้หยิบได้ง่ายๆ กลับใช้สองมือกางปีกและหยิบของที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าศอกขึ้นมา ทำให้เกิดการเกร็งที่หัวไหล่

  • วางข้อมือตามธรรมชาติ

มีหลายวิธีดีๆสำหรับการวางข้อมือที่ถูกต้องหนึ่งวิธีนั้นคือวางให้อยู่แนวเดียวกับท่อนแขน
อย่างการทำงานที่ต้องจับเม้าส์ จึงควรหาที่รองข้อมือมาวางเสริมเพื่อให้อยู่ในระดับเดียวกัน

การขับรถ จับพวงมาลัยมือข้างซ้ายควรอยู่ที่ตำแหน่ง 10 นาฬิกา และอีกข้างหนึ่งอยู่ที่ 2 นาฬิกา

2 ลดการออกแรงหนักๆ

การใช้แรงหนักๆที่ข้อต่อสามารถทำให้เกิดการปวดร้าวและบาดเจ็บได้

อย่างการลากของใหญ่ๆหนักๆทำให้หลังเราใช้แรงเยอะ ฉะนั้นเราควรใช้ล้อคลื่อนช่วย และดูว่าพื้นที่ที่ทำการลากของนั้นสามารถลากได้อย่างสะดวกหรือไม่

อีกตัวอย่าง เช่น การยกกล่องใส่ของ หากใช้กล่องแบบมีที่จับจะช่วยลดการออกแรงได้

มีอีกเป็นร้อยแปดตัวอย่างในทาง ergonomic รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกแรง ใช้แรงทำงาน
ประเด็นอยู่ที่กิจกรรมที่เราทำใช้แรงมากเกินไปไหม? และมีวิธีใดบ้างที่สามารถลดการออกแรงของเราได้?

3 วางทุกอย่างให้หยิบใช้งานง่าย

การวางอุปกรณ์ที่ให้หยิบใช้งานได้ง่าย ทำให้คุณลดโอกาสที่ต้องบิดตัว เอี้ยวตัว เอื้อมแขน ฯลฯ ด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาตื

4 ทำงานในระดับความสูงที่เหมาะสม

ข้อนี้ต่างจากข้อ 1 คือไม่ได้ปรับที่ร่างกายของเราแต่เป็นพื้นที่ทำงาน
กฏง่ายๆคือบริเวณงานที่ทำควรมีความสูงระดับศอกไม่ว่าจะนั่งหรือยืน
ตัวอย่างส่วนมากคือการทำงานกับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ มีงานอีกหลายชนิดที่ยังสามารถนำกฏนี้ไปประยุกต์ใช้ได้

อาจมียกเว้นงานบางอย่างที่ต้องใช้สายตาและมุมมององศาต่างๆในการลงรายละเอียด

5 ลดการเคลื่อนไหวซ้ำๆ

ลองคิดดูว่าวันหนึ่งๆคุณมีงานอะไรที่ต้องทำซ้ำซากจำเจ ที่ต้องใช้นิ้ว ใช้ข้อมือ แขน หลังในระหว่างวันบ้าง
อาจเปลี่ยน layout ในการวางเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้คุณไม่ต้องเดินไปมาหรือเอื้อมไปหยิบของบ่อยๆ ตัวอย่างเช่น งานแพคของลงกล่อง คุณอาจนำแพคเกจมาวางใกล้กับที่คุณจัดเรียงสินค้า หรือหากคุณเป็นช่าง จะดีกว่าไหมถ้าเปลี่ยนการใช้ไขควงธรรมดามาใช้ไขควงไฟฟ้าแทน

6 เคลียร์สิ่งของเกะกะ ออกไป

จะเป็นยังไงถ้าระหว่างคุณทำงาน ลุกขึ้นมาแล้วหัวไปชนกับอะไรก็ไม่รู้ เดินไปเตะอะไรเข้า ชนนั่น ชนนี่ ฉะนั้นพื้นที่ทำงานต้องสะดวกต่อการมองเห็นไม่มีอะไรมาบังสายตาเรา
หมั่นทำความสะอาดและจัดโต๊ะพื้นที่ทำงานให้เปนระเบียบ

7 ขยับตัว ออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

ถ้าหากคุณจำเป็นต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ก็ควรเปลี่ยนท่าทางบ้าง
อย่างการปรับพนักเก้าอี้เอนขึ้นลงไปมา เหยียดแขน ยืดขาบ้าง

เป็นการดีมากถ้าลุกเดิน อาจตั้งเวลาเตือนเอาไว้ อย่าอยู่แต่กับที่ ลุกไปดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำบ้าง
ยืดเส้นยืดสาย อาจเป็นการบริหารคอ หมุนหัวไหล่ หรือบิดตัว

8 ทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานสะดวกสบาย

ปัญหาพื้นฐานอย่างหนึ่งคือเรื่องแสง สำนักงานหลายๆแห่งอาจจะมีเรื่องแสงสะท้อนเป็นปัญหาใหญ่ อย่างจอคอมพิวเตอร์ที่สะท้อนกับแสงข้างนอกหน้าต่าง สังเกตเดี๋ยวนี้จึงมีผู้พัฒนาฟิล์มต่างๆออกมาที่เขียนไว้ว่า (anti glare)

งานอื่นๆที่ต้องการแสงเช่นเดียวกัน ฉะนั้นควรดูว่าแสงสว่างในพื้นที่ทำงานของเราเพียงพอหรือไม่

บทสรุป

8 ข้อที่กล่าวมานี้อาจเป็นแนวทางส่วนหนึ่งให้คุณได้เห็นภาพว่า ergonomic อะไร
นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมสถิติจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานกองทุนประกันสังคม
ว่า 4 อันดับปัญหาด้านการยศาสตร์ที่ส่งผลต่อสุขภาพ มี

  • การประสบอันตรายจากการยกหรือเคลื่อนย้ายของหนัก
  • การประสบอันตรายจากท่าทางการทำงาน
  • อาการเจ็บป่วยจากการเคลื่อนย้ายของหนัก
  • อาการเจ็บป่วยจากท่าทางการทำงาน

หากเราปฏิบัติตามหลักการ Egonomic ด้านบนนี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงการประสบอันตราย การบาดเจ็บ ได้อย่างแน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.doctor-bee.net/2015/08/office-ergonomics.html

0 0 votes
Article Rating
See also  ทำไมต้องเก้าอี้ Ergonomic

You Might Also Like

Subscribe
Notify of
guest
1 Comment
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

[…] Ergonomic นั้นเป็นเป็นศาสตร์เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ อย่างที่เคยกล่าวไปในบทความก่อนหน้า หลักการยศาสตร์ Ergonomic 8 ข้อ […]

1
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x