SELF DEVELOPMENT

6 สเต็ป ในการเอาชนะ Information Overload ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น

จากการศึกษาในปี 2009 พบว่าชาวอเมริกันโดยเฉลี่ยเสพข้อมูลเนื้อหาคอนเท้นท์ 34 กิกะไบต์ และข้อมูลข่าวสารถึง 100,000 คำใน ทุกๆวัน แน่นอนว่ามากกว่าที่บรรพบุรุษของเราเคยเสพอย่างแน่นอน -ตอนนั้น iPhone เพิ่งจะเปิดตัวมาได้ 1 ปี ใครจะรู้ว่าพวกเราใช้ข้อมูลกันมากแค่ไหนในวันนี้ เราแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทรที่คราครั่งไปด้วยข้อมูลและเรื่องราวต่างๆมากมายถาโถมประเดประดัง : สิ่งที่เราบอกกับตัวเอง สิ่งที่เราบอกกับคนอื่น  สิ่งที่เรารับรู้จากข่าวสาร และสิ่งที่เราเลือกดูบนเน็ตฟลิกซ์  และหนังสือที่เราอ่าน ที่ฟังในพอดคาสท์ ที่เราตามในเฟสบุค อินสตราแกรม ทวิตเตอร์ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าเรื่องราวเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเรา

1. ทำความเข้าใจก่อนว่าข้อมูลไหนที่เป็นประโยชน์กับคุณ

ข้อมูลบางรูปแบบมักจะอยู่ในรูปเรื่องเล่าและต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

การศึกษาที่ New School for Social Research พบว่าการอ่านโดยเฉพาะนวนิยาย ช่วยให้คนพัฒนาทักษะที่พวกเขาต้องการในความสัมพันธ์ทางสังคม เช่น ความสามารถในการมองเห็นทัศนคติจากมุมมองของบุคคลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชอบอ่านนวนิยายสามารถอ่านอารมณ์จากสายตาของคนอื่นได้ดีซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการพิจารณาสภาพจิตใจของคน

นักวิจัยเชื่อว่าส่วนประกอบสำคัญในนวนิยายคือการที่มันช่วยปรับปรุงทักษะในด้านเชาวน์ปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ที่คุณต้องทำความเข้าใจตัวละครที่อยู่ในนวนิยายนั้น

ความสามารถในการเข้าใจบุคคลอื่นที่คนเหล่านั้นมีในความคิดของตนเอง และความรู้สึกคือสิ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า ทฤษฎีของจิตใจ (Theory of Mind) นักจิตวิทยาพัฒนาการเชื่อว่าทฤษฎีของจิตใจเริ่มมีตั้งแต่ในเด็กวัยหัดเดินและเด็กเล็กและพัฒนาต่อไปตามกาลเวลา โดยที่การอ่านนั้นได้ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆและความสามารถในการมองโลกผ่านประสบการณ์ของคนอื่น

นอกจากนี้แล้วการสร้างแรงบันดาลใจหรือการขยับของข่าวต่างๆหรือเหล่าบทความต่างๆสามารถช่วยยกระดับเราเช่นกัน แม้แต่สอนวิธีคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ให้กับเรา

สิ่งที่เราได้แบ่งปันกับคนอื่น ๆ บอกเพื่อนของเราเกี่ยวกับสิ่งนั้นและให้คิดต่อ มันช่วยให้เราไตร่ตรองเกี่ยวกับปัญหาและชีวิตในแบบที่ลึกซึ้งและมีความหมายมากขึ้น และเราก็ต้องการความหมายที่ลึกซึ้งซึ่งทำให้เราได้รับการเติมเต็ม อย่างที่ Emily Esfahani Smith บอกในหนังสือ The Power of Meaning สิ่งหนึ่งที่จะช่วยยกระดับผู้อื่นคือการเล่าเรื่องราวของตัวเอง

2. ตัดข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตรายออกไป

รูปแบบอื่น ๆของการเล่าเรื่อง ในทางกลับกันแล้วอาจจะทำให้เหนื่อยและเป็นการทำลาย เช่น การไหลพวกข่าวลบๆเศร้าๆหรือข่าวที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด  ภาพยนตร์รุนแรงและสื่อลามกรวมถึงการโฆษณาและข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องที่ถาโถมมาให้เราเห็นให้เรารับรู้ เช่นเดียวกับคำพูดที่ว่า “we are what we eat” ก็เหมือนกันกับประเภทของข้อมูลที่เรารับ คุณต้องการคิดอะไรในตอนสิ้นวัน คุณต้องการความคิดแบบไหนให้อยู่ในหัวของคุณล่ะ? 

3. ฝึกการควบคุมปริมาณ

แม้ว่าเรื่องราวที่อยู่รอบ ๆ เรา นั้นสดใหม่ 

แต่มันก็อาจจะมีจำนวนที่มากเกินไป อย่างที่เพื่อนเคยบอกกับฉันว่า “ฉันคิดว่าฉันกำลังทุกข์ใจกับข้อมูลที่มันท่วมท้น โปรเจกต์โครงการเยอะ เรื่องราวต่างๆมากมาย อะไรประมาณนั้น ถึงแม้ทั้งหมดมันจะ’ดี’ แต่ฉันก็ยังรู้สึกหงุดหงิด” 

เราทุกคนต้องมีเส้นขอบเขต ของประเภทและจำนวนเรื่องราวที่เราติดตามและยอมรับมัน

4. สร้างความยืดหยุ่น

เมื่อได้รับข้อมูลข่าวสารปริมาณมากที่เราบริโภคเข้าไปในทุกวัน มีใครรู้สึกแปลกใจไหมว่าทำไมเรารู้สึกล้นๆ เหนื่อยล้าและเครียดบ้างหรือเปล่า? แน่นอนว่า มันวิเศษมากที่เราได้ติดต่อกับโลกใบนี้และนี่เป็นช่วงเวลาแห่งความมีเสรีภาพในการพูดและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน แต่มันสำคัญยิ่งกว่าที่เราจะสามารถปลดการเชื่อมต่อเพื่อรักษาสติของเราเอาไว้

มี เคล็ดลับบางอย่างที่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ช่วยได้ค่ะ:

• Grounding practices เช่น  หมั่นเดินดูธรรมชาติ การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย และการงดเทคโนโลยีบ้างสามารถช่วยให้เราคงสมดุลได้

•ถ่ายทอดบอกประสบการณ์และความรู้สึกของเราเองโดยการพูดออกมาหรือเขียนลงไปก็ช่วยแสดงให้เห็นว่ามันเป็นการบำบัดอย่างลึกซึ้ง

•การฝึกหายใจที่เอมม่าได้อธิบายไว้ในหนังสือ The Happiness Track สามารถช่วยให้ระบบประสาทของเราสงบลงได้ในทันที มีการวิจัยกับบุคคลที่เครียดมากๆ (อย่างทหารผ่านศึกที่บาดเจ็บ) ในการทำเช่นนี้จะ ช่วยให้เราฟื้นฟูความยืดหยุ่นในแบบที่เราต้องการได้

แทนที่จะเกิดอาการข้อมูลล้นจนท้วมท้นและทำให้รู้สึกเขว เราหันกลับไปพูดคุยกับตัวเราเอง เรากลับไปรับรู้ถึงคุณค่าของเราอีกครั้งและตระหนักว่าอะไรคืสิ่งที่สำคัญสำหรับเรา ซื่อตรงกับตัวเรา 

5. เข้าใจผลของการโฟกัสตัวเอง

รูปแบบการเล่าเรื่องของเราก็สำคัญเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นความรู้สึกหดหู่หรือวิตกกังวล เช่น การบ่นเกี่ยวกับตัวเอง คำพูดจะมีคำว่า ฉัน ตัวฉันเอง และตัวฉัน เป็นหลัก บ่อยครั้งที่ข่าว ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นความวิตกกังวล – ทำไมเป็นงั้น? เพราะมันได้รับความสนใจจากเราไง เมื่อคุณอ่านเนื้อข่าวที่ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณไม่ดีพอ (เช่นใน นิตยสารผู้หญิง และนิตยสารผู้ชายที่เน้นอาหารการกิน การไดเอต และการมีรูปร่างหน้าตาที่ดี) บทความเหล่านี้อาจทำให้คุณรู้สึกแปลกแยกและโดดเดี่ยว มากขึ้น เราไม่สามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นแต่ดันมีแนวโน้มที่จะคร่ำครวญต่อเรื่องราวที่ส่งผลเชิงลบ

อย่างไรก็ตาม ให้พยายามฝึกง่ายๆก่อนอย่างการลองโฟกัสกับสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ทำให้เรารู้สึกดี  ทบทวนว่าชีวิตของเรานั้นดำเนินไปในทางที่ถูกหรือเปล่า ลองทำสมาธิและลองส่งต่อความรักให้กับผู้อื่น ฝึกโยคะหรือเข้าคลาสออกกำลังกาย หรือลองทำงานพิเศษไม่กี่โมงที่ทำให้เรารู้สึกในทิศทางบวก หรือรู้สึกเบิกบานขึ้น 

6. อย่าหลีกหนี

ความทุกข์ ความเจ็บปวด และความเจ็บป่วย ล้วนเป็นเรื่องราวที่เราไม่ต้องการ แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

เพราะบางทีข้อมูลเหล่านั้นก็มีพลังและเป็นประโยชน์ในบางครั้ง อย่างที่ศรีศรีราวีการ์กล่าวว่า

“Hardship makes you deeper.”   

Sri Sri Ravi Shankar 

“ ความยากลำบากทำให้คุณลึกล้ำยิ่งขึ้น” วิธีหนึ่งที่ทำให้คุณลึกซึ้งยิ่งขึ้นคือคุณเริ่มเข้าใจว่าความเจ็บปวดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรื่องของมนุษย์ และนั่นก็คือการสำนึกรู้สึกตัวที่ทรงพลัง

ความสุขคือสิ่งที่ทุกคนต้องการ ความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากได้ พื้นฐานแล้วนั้นการตระหนักถึงประเด็นนี้เท่ากับว่าคุณเริ่มมีส่วนในเรื่องราวที่คุณเลือกจะไม่ทำร้ายคนอื่น คุณจะกลายเป็นคนที่มีสติมากขึ้น อาหารการกิน คำพูดคำจา และการกระทำ ความเจ็บปวดของคนอื่นได้กลายเป็นความเจ็บปวดของคุณด้วย

5 2 votes
Article Rating
See also  วิธีหยุดคิดมาก

You Might Also Like

Subscribe
Notify of
guest
2 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

[…] ๆ ทำให้ทุกคนป่วย (voicetv.co.th6 สเต็ป ในการเอาชนะ Information Overload ในยุคที่ข…ข้อมูลท่วมหัว เอาตัวให้รอด […]

[…] โมเดลนี้จะไม่ค่อยเกี่ยวกับการจัดการเวลาหรือจัดการ to do listแต่จะเกี่ยวกับ การจัดการความสนใจ การจัดการพลัง และเพิ่มการโฟกัส ของคุณเสียมากกว่าเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้อยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเราจะทิ้งวิธีการแบบเก่า อย่างการติ๊กเครื่องหมายหน้ารายการจนกว่าจะทำเสร็จออกไป – การทําให้ทุกอย่างให้เสร็จไม่น่าจะใช่ความทะเยอทะยานที่แท้จริงเท่าไหร่ในยุคที่ข้อมูลท่วมท้น information overloaded […]

2
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x