คิดว่าตัวเองมีภูมิคุ้มกันจากเรื่องไร้สาระงั้นหรอ เปล่าเลย เราทั้งหลายต่างก็อินกับเรื่องไร้สาระทั้งนั้นแหละ
ทำไมต้องสนใจเรื่องพวกนี้?
ก็เพราะว่าคุณไม่ได้เก่งในการจับโกหกเรื่องกลวงๆทั้งหลายอย่างที่คุณคิดน่ะสิ
สมัยก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ต แรงบันดาลใจที่อย่างน้อยมาในรูปของคำคมทั้งหลาย หรือ ปรัชญาเกี่ยวกับการช่วยตนเองได้ถูกจำกัดเอาไว้ เว้นแต่ถ้าคุณเข้าไปในร้านหนังสือของชาวคริสเตียนหรือหอพักในมหาวิทยาลัย (ที่มีภาพโปสเตอร์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ขนาดเท่าตัวจริง) หรือตามทางเดินของสาขาธนาคาร ที่มีโปสเตอร์ใส่กรอบเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม ทำให้คุณสะดุดและคิดถึงแรงบันดาลใจขึ้นมา
ตอนนี้น่ะหรอ แน่นอนว่า คำพูดสร้างแรงบันดาลใจมักจะจับคู่กับมีม สัตว์น่ารักๆหรือพวกเมฆ พระอาทิตย์ตกดิน ได้ถูกปาดไว้ในฟีดโซเชียลของเรา
ปรัชญาเล็กๆนี้ดูเหมือนจะไร้ขอบเขต และวงจรข่าวสารในไม่กี่ปีนี้ได้ทำให้เราหลงไหลใน“ ข่าวปลอม” ใช่แล้ว เรื่องเหลวไหลมันกลับมาอีกแล้วและดันใหญ่กว่าเดิมซะด้วย โดยเราไม่ทันได้สังเกต ตอนปี 2558 ได้มีการศึกษากับนักศึกษากว่า 200 คนที่มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในออนแทรีโอ:
แทบทุกคนพบว่าอย่างน้อยมีหนึ่งวลีที่ดูกลวงเกินไป
เรื่องเหลวไหล เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญ Gordon Pennycook ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจาก University of Regina ใน Saskatchewan ทำการวิจัยเกี่ยวกับ บูลชิท (BS) มาเป็นเวลาหลายปี และจากการที่มีข้อมูลที่เพิ่มขึ้นและการเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เรื่องเหลวไหลก็ยิ่งแพร่หลายมากขึ้นกว่าเดิม “ ถ้าเราอยู่ในยุคของข้อมูลเราก็อยู่ในยุคของข้อมูลที่ผิดๆ” Pennycook ให้ความเห็นว่า “ ผู้คนต้องเผชิญกับการพล่ามหลายรูปแบบนับตั้งแต่ยุคใหม่ไปจนถึงการพล่ามในการโฆษณาและการเมืองจนถึงชีวิตประจำวันทุกวัน”
เรื่องเหลวไหล มันก็เหมือนกับความงาม หรือตัวละคร หรือฮิปสเตอร์; มันยากที่จะอธิบาย แต่เราทุกคนรู้เมื่อเราเห็นมัน ดังนั้นแล้วเทคนิคไหนล่ะที่จะบอกว่าเรื่องใดเป็นเรื่องไร้สาระ ในหนังสือของเขา On Bullshit นักปรัชญา แฮร์รี่แฟรงค์เฟิร์ตแยกความแตกต่างให้เห็นว่ามันเป็นข้อความที่ตั้งใจจะสร้างความประทับใจ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริง เมื่อเทียบกับการโกหกซึ่งต้องมีใครสนใจอยากรู้ความจริง อย่างที่แฟรงค์เฟิร์ตตั้งข้อสังเกตว่า “ การสร้างเรื่องเหลวไหลไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อ”
แน่นอนว่าบูลชิท (BS) สามารถมีได้หลายรูปแบบ ประเภทหลักหนึ่งเลยคือสิ่งที่ Pennycook และนักวิจัย BS คนอื่นเรียกว่า “ การหลอกลวงอย่างลึกซึ้ง” (pseudo-profound bullshit) – “ดูเหมือนจะน่าประทับใจที่นำเสนอสิ่งที่เป็นจริงและมีดูมีความหมายอย่างลึกซึ้ง แต่จริงๆแล้วกลวง”