โลกเราจะเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัยในเร็วๆนี้ !?
เพราะว่าจำนวนผู้สูงอายุ (65++ ปี) กำลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากสัดส่วนจำนวนประชากรบนโลก 7% (ในปี 2000) จะเพิ่มขึ้นเป็น 16% ในปี 2050 เท่ากับว่าตอนนั้นจะมีผู้สูงวัยจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.44 พันล้านคน จากนั้นประชากรผู้สูงอายุจะมีมากกว่าเด็ก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อืมม.. หมายความว่า ยุคนี้อัตราการเกิดของเด็กลดลง ผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น คนนิยมเป็นโสดกันมากขึ้น !?!
การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ เพราะมันเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตทุกวัน และในส่วนของกลุ่ม Entrepreneur หรือผู้ประกอบการ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าท้าทายไม่น้อยที่จะเข้ามาหาโอกาสและมีส่วนช่วยในการทำสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น
งาน InterCare Asia นี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 กรกฎาคม 2560 ที่ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) บางนา วันนี้เราก็เลยได้มีโอกาสไปเดินและฟังสัมนาเอาไอเดียสักหน่อย
ภายในงาน InterCare จะแบ่งพื้นที่จัดงานออกเป็น 5 โซน ได้แก่
1. โฮมแคร์ อุปกรณ์และเครื่องมือในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้พิการ เช่น วีลแชร์ วอร์คเกอร์ อุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
2. รีแฮบิทเทชั่น อุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับการดูแลช่วยเหลือและปกป้องผู้สูงอายุ เช่น หุ่นยนต์ผู้ช่วย ลิฟต์สำหรับเคลื่อนย้าย และ Power Suits หรือชุดช่วยพยุงน้ำหนักในการเคลื่อนไหว
3. เมดิคัลทัวร์ริซึ่มหรือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น สปา ฟิตเนส และสถานบริการนวดแผนไทย
4. ด้านบริการ สินค้าและบริการทั่วไปสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การออมเงิน บริการรถรับส่ง ประกันชีวิต เป็นต้น และ
5. นิวทริชั่นฟู้ดส์ ผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น เจลลี่สำหรับผู้สูงอายุ อาหารเสริมอัดเม็ด เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ จาก กูรู ทั่วเอเชีย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงการต่อยอดทางธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุได้ค่ะ
ส่วนของห้องสัมนาก็จะมีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย ที่เลือกมาวันแรกเพราะตั้งใจมาฟังเรื่อง แนวโน้มความสำคัญและความต้องการของเทคโนโลยีทางด้าน Digital Healthcare สำหรับสังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งตอนจบของหัวข้อนี้วิทยากรแต่ละท่านก็จะเสวนาเรื่องโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งก็ได้อะไรกลับมาเยอะทีเดียวจาก2เซซชั่นนี้
เริ่มต้นด้วยสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยค่ะ จากสถิติ ในปี 2553 จำนวนผู้สูงอายุมี 8.4 ล้านคน และในปี 2563 จะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 12.6 ล้านคน และก็ได้มีการสำรวจพฤติกรรมของผู้สูงอายุด้วย แบ่งเป็น 3 ติด
79.5 % ติดสังคม เป็นกลุ่มที่สามารถประกอบอาชีพได้เพื่อสร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ
19% ติดบ้าน เป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ
1.5% ติดเตียง เป็นกลุ่มที่รัฐจะต้องดูแลให้บริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ที่บอกว่าประชากรผู้สูงอายุจะมีมากกว่าเด็ก (อายุ 0-14 ปี) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นั้นจะเกิดขึ้นในปี 2562 ปัญหาที่ตามมาคือกำลังแรงงานของประเทศ(วัยทำงาน) กำลังจะลดลง
ภาวะทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทยปี 2559
จากผลการสำรวจความคิดเห็นผู้สูงอายุจำนวน 1,250 คนทั่วประเทศ โดยนิด้าโพสร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ
ผู้สูงอายุ 63.20 % ไม่ได้ทำงานแล้ว เพราะ อายุมาก, สุขภาพไม่ดี, ลูกหลานไม่อยากให้ทำงาน, อื่นๆ ก็ได้แก่ ดูแลบิดามารดาที่ป่วย ทำงานจิตอาสาให้วัด
ส่วนเรื่องของการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในด้านต่างๆของลูกหลาน มีทั้ง ให้เงินช่วยเหลือเป็นประจำ, มีลูกหลานแต่ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในด้านใดๆ, ให้เงินช่วยเหลือตามโอกาส, ให้เวลาช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น อ่านหนังสือให้ฟัง ช่วยทำธุระ พาไปหาหมอ ฯลฯ, และกลุ่มที่ไม่มีลูกหลานมาให้ความช่วยเหลือ (โสด ไม่มีบุตร อยู่ตัวคนเดียว)
ภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบในด้านต่างๆของผู้สูงอายุไทย
ไม่มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ และมีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่ การประกอบธุรกิจการค้า การประกอบอาชีพ, ที่อยู่อาศัย บ้าน คอนโด ทาวเฮ้าส์ ฯลฯ, การผ่อนสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น รถยนต์, การศึกษาของบุตรหลาน, ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่ารักษาพยาบาล
การนำเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปใช้จ่ายในด้านต่างๆ
– 49.54% ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
– 21.08% ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ
– 9.99% การดูแลสภาพร่างกาย การรักษาโรค
– 9.01% ทำบุญ
– 5.48% ฝากธนาคาร/เก็บออม/ลงทุน
ดังนั้นเมื่อผู้สูงอายุมีมากขึ้น ก็ได้เกิดแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสังคมสูงวัยขึ้นมา
อุตสาหกรรมการผลิตและบริการสำหรับผู้สูงอายุที่น่าสนใจ มีทั้ง สินค้าไลฟ์สไตล์ อาหารเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยว วัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ สุขภาพและเครื่องมือแพทย์ (ตามที่ในงาน intercare นี้ก็ได้มีการแบ่งโซนกลุ่มธุรกิจที่มาจัดแสดง)
ต่อมาเป็นเรื่องเทรนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Digital Healthcare
จะมีหลายเรื่อง เราหยิบสไลด์หลักๆที่ ดร.ทรงพล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยกมากล่าว
Assistive Technologies and Rehabilitation Robotics
Clinical Decision Support
Computational Simulations, modeling and machine learning approaches
E-health
Healthcare technology assessment and monitoring
Health Systems Engineering
Human-computer-environment interactions
Information management and policy
Virtual Reality, Video gaming rehabilitation and serious games
Speech and hearing systems
Telehealth, telemedicine, telecare, Telecoaching and Telerehabilitation
Mobility and Cloud Access
Wearable and Internet of Thing (IoT)
AI and Big Data
Empowered Consumers
Potential Applications อันนี้ ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม Remote Health Monitoring, Fitness Program, Chronic diseases and elderly care
ที่น่าสนใจสำหรับเรา คือ พื้นฐานของพวก IoT ด้านสุขภาพ เขาคาดหวังว่า
มันต้องสามารถลดค่าใช้จ่าย, แรงกาย, แรงงาน, และเวลาได้
เพิ่ม QOL หรือ Quality of Life ให้คนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
และ Enrich the user’s experience (UX)
ตัวอย่างระบบ IoT ต่างๆด้านสุขภาพ
Glucose Level Sensing
Electrocardiogram Monitoring
Blood Pressure Monitoring
Body Temperature Monitoring
Oxygen Saturation Monitoring
Rehabilitation System
Medication Management
Wheelchair Management
Imminent Healthcare Solutions
Healthcare Solutions using SmartPhones
และในส่วนของธุรกิจและภาคเอกชนที่มาจัดแสดงในงานเราชอบบูธนี้
นอกจากยางกันลื่นแล้วก็เห็นมี Braille Tiles เป็นพื้นยางกระเบื้องอักษรเบรลล์ สำหรับปูพื้น เพื่อคนตาบอด
หรือพิการทางสายตาช่วยนำทางและแจ้งเตือนจุดอันตรายต่างๆ บนพื้นทางเดิน
พูดถึงทางเดิน คือเมื่อวันก่อนเพิ่งได้อ่านโพสของคนๆนึงเขาได้มาเล่าประสบการณ์ที่ได้ช่วยเข็นรถผู้พิการไปตามฟุตบาทเพื่อไปขึ้นรถไฟฟ้า ระหว่างทางคิดว่าระยะทางไม่ไกลแต่ก็กลับเจออุปสรรคต่างๆนาๆอย่างที่รู้กันว่าฟุตบาทบ้านเราเป็นยังไง ก็เลยทำให้ต้องลงไปเข็นบนถนน พอไปถึงรถไฟฟ้าแล้วก็ยังเจอปัญหาอีก ขออนุญาตนำลิ้งมาแชร์นะคะ
ต่อที่เจ้า braille tiles นี้เค้าว่าต้นกำเนิดมาจากญี่ปุ่น ที่โรงเรียนสอนคนตาบอด ในเมืองโอกายาม่า แล้วก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ค่ะ ส่วนในบ้านเรามันก็หลายปัจจัยนะที่ทางเดินสำหรับผู้พิการใช้ไม่ได้จริง ทั้งความเห็นแก่ตัว และขาดการให้ความรู้ ก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมด้วยช่วยกันให้บ้านเราเจริญขึ้น
วิดีโอจากเวิร์คพ้อยที่พูดถึงปัญหาเบรลล์บล็อคไทยกับผู้พิการทางสายตา