ในยุคที่พวกเราถูกท่วมท้นไปด้วยข้อมูลอันมากมาย เราพยายามค้นหาระบบและเครื่องมือเพื่อจัดการกับความรู้ต่างๆ หนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยมคือ “Second Brain” หรือสมองที่สอง ซึ่งเป็นระบบจัดการความรู้ส่วนตัวที่ช่วยให้เรา ‘เก็บ’ ‘จัดระเบียบ’ และ’นำความรู้กลับมาใช้’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เป็นที่น่าสนใจว่า ร่างกายของเรามี “สมองที่สอง” อยู่แล้วโดยธรรมชาติ นั่นคือระบบประสาทในลำไส้ หรือที่เรียกว่า “Gut Brain” ซึ่งมีเซลล์ประสาทมากกว่า 100 ล้านเซลล์ ทำงานเป็นเครือข่ายซับซ้อนและมีการสื่อสารโดยตรงกับสมองของเรา บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการความรู้แบบดิจิตอล (Second Brain) กับสัญชาตญาณและความรู้สึกจากลำไส้เรา (Gut Brain) และค้นพบว่าทำไมการฟังเสียงจากทั้งสองแหล่งนี้จึงสำคัญต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เพราะบางครั้ง การตัดสินใจที่ดีที่สุดไม่ได้มาจากข้อมูลที่มากที่สุด แต่มาจากการผสมกันระหว่างความเข้าใจเชิงวิเคราะห์และสัญชาตญาณที่มาจากประสบการณ์…
Self Improvement
มีพอดแคสตอนนึงที่มีคนวิเคราะห์แนวคิด ของ Eckhart Tolle ที่ว่า “ตัวตนที่แท้จริงของเรา” ไม่ใช่ความคิดของเราเราก็เลยมีคำถามว่า แล้วตัวตนที่แท้จริงของเรา คืออะไร? ทอเลอบอกว่าตัวตนที่แท้จริงของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความคิดหรือกระแสความคิดที่ไหลผ่านจิตใจ เรามักจะหลงคิดว่าตัวเราคือความคิดของเรา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราคือผู้สังเกตความคิดเหล่านั้น…
Disney Princess Syndrome | เมื่อโลกแห่งความจริงไม่ได้มีเจ้าชายมาช่วยเสมอ (ตอนที่ 2)
หลายคนเติบโตมาพร้อมกับเรื่องราวของเจ้าหญิงที่พบกับรักแท้และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตลอดกาล แต่พอเราก้าวเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง กลับพบว่าชีวิตไม่ได้ง่ายหรือสมบูรณ์แบบเหมือนในเทพนิยาย Disney Princess Syndrome อาจดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่นัก แต่ถ้าแนวคิดนี้ฝังรากลึกในมุมมองของเรา มันสามารถส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรัก การงาน หรือแม้แต่วิธีที่เรามองตัวเองและโลกใบนี้…
Disney Princess Syndrome | เมื่อโลกแห่งความจริงไม่ได้มีเจ้าชายมาช่วยเสมอ (ตอนที่ 1)
ในวัยเด็กเราโตมากับนิทานที่จบแบบ “Happy Ending” เจ้าหญิงมักพบกับอุปสรรค แต่สุดท้ายก็มีเจ้าชายมาช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ทุกอย่างถูกแก้ไขได้ด้วย “รักแท้” หรือ “โชคชะตา” ที่นำพาความสุขมาให้ แต่เมื่อโตขึ้น เรากลับพบว่าชีวิตไม่ได้ง่ายดายแบบนั้น ไม่มีเจ้าชาย ไม่มีนางฟ้าแม่ทูนหัว และไม่มีเวทมนตร์ที่จะเสกให้ปัญหาทุกอย่างหายไป สิ่งที่เหลืออยู่คือ ตัวเราเอง กับความเป็นจริงที่ต้องเผชิญ…
ในยุคที่ข้อมูลท่วมท้น การแยกแยะระหว่างความจริงกับความเชื่อที่ผิดๆเป็นทักษะสำคัญ ตรรกะวิบัติและอคติทางความคิด เป็นสองคำที่มักถูกใช้สลับกันในการอธิบายความผิดพลาดของกระบวนการคิด แต่แท้จริงแล้ว ทั้งสองคำนี้มีความหมายและที่มาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การทำความเข้าใจความแตกต่างนี้จะช่วยให้เราสามารถประเมินข้อมูล ตัดสินใจ รู้เท่าทัน และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น…
ลองนึกภาพนะว่าถ้าในหัวของเรามีโลกเล็กๆที่เป็นเหมือนห้องควบคุมในยานอวกาศ และเป็นที่อยู่ของอารมณ์ต่างๆ ของเราจะเป็นยังไง ในเรื่อง Inside Out 2 อารมณ์จะเป็นตัวละครน่ารักๆ มีหน้าที่ดูแลความรู้สึกของเรา อย่าง “ลั้นลา” เป็นตัวสีเหลืองสดใส ชอบทำให้เรามีความสุข “เศร้าซึม” เป็นตัวสีฟ้า ช่วยทำให้เราเข้าใจความรู้สึกเศร้า และเห็นอกเห็นใจคนอื่น ซึ่งในหัวของไรลี่ตัวเอก จะมีห้องควบคุมที่พวกอารมณ์ต่างๆ ทำงานกัน บนแผงคอนโซลควบคุมมีปุ่มกดมากมาย มีหน้าจอใหญ่ที่แสดงสิ่งที่ไรลี่เห็นและคิด เวลาไรลี่ต้องตัดสินใจอะไร อารมณ์พวกนี้ก็จะช่วยกันกดปุ่มควบคุมความรู้สึกที่เราแสดงออกมา…
เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า เราอยู่บนโลกนี้เพื่ออะไร? ความหมายของการอยู่คืออะไร? คำถามเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนไป 70 ปีก่อน นักคิดชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ เคยมีแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซาร์ตร์เชื่อว่า ทุกคนมีอิสระในการเลือกและตัดสินใจ แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เขาท้าให้เราคิดใหม่ว่า ตัวเรานี่แหละที่เป็นผู้กำหนดความหมายให้กับการดำรงอยู่ของตัวเอง ไม่ใช่สิ่งอื่น ในบทความนี้ เราจะสำรวจแนวคิดของซาร์ตร์ ดูว่ามันจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัวขึ้นได้อย่างไร…
จริงๆ แล้ว การทำงานอย่างฉลาดและเน้นไปที่สิ่งสำคัญต่างหากที่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ work smart not work hard…
ทำไมบางครั้งเราถึงได้ตัดสินใจอย่างไร้เหตุผล แม้จะคิดว่าตัวเองกำลังใช้ตรรกะอยู่? หรือว่าทำไมมันง่ายมากที่จะเห็นข้อบกพร่องในความคิดของคนอื่น แต่กลับมองไม่เห็นของตัวเอง? …
การเปิดใจเกี่ยวกับความรู้สึกอาจเป็นวิธีที่ดีในการทำความเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของคุณ แต่การ "เปิดเผยทั้งหมด" ออกไปอาจไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเสมอ…