ในยุคที่พวกเราถูกท่วมท้นไปด้วยข้อมูลอันมากมาย เราพยายามค้นหาระบบและเครื่องมือเพื่อจัดการกับความรู้ต่างๆ หนึ่งในแนวคิดที่ได้รับความนิยมคือ “Second Brain” หรือสมองที่สอง ซึ่งเป็นระบบจัดการความรู้ส่วนตัวที่ช่วยให้เรา ‘เก็บ’ ‘จัดระเบียบ’ และ’นำความรู้กลับมาใช้’ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เป็นที่น่าสนใจว่า ร่างกายของเรามี “สมองที่สอง” อยู่แล้วโดยธรรมชาติ นั่นคือระบบประสาทในลำไส้ หรือที่เรียกว่า “Gut Brain” ซึ่งมีเซลล์ประสาทมากกว่า 100 ล้านเซลล์ ทำงานเป็นเครือข่ายซับซ้อนและมีการสื่อสารโดยตรงกับสมองของเรา บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจความเชื่อมโยงระหว่างการจัดการความรู้แบบดิจิตอล (Second Brain) กับสัญชาตญาณและความรู้สึกจากลำไส้เรา (Gut Brain) และค้นพบว่าทำไมการฟังเสียงจากทั้งสองแหล่งนี้จึงสำคัญต่อการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน เพราะบางครั้ง การตัดสินใจที่ดีที่สุดไม่ได้มาจากข้อมูลที่มากที่สุด แต่มาจากการผสมกันระหว่างความเข้าใจเชิงวิเคราะห์และสัญชาตญาณที่มาจากประสบการณ์…
SELF DEVELOPMENT
มีพอดแคสตอนนึงที่มีคนวิเคราะห์แนวคิด ของ Eckhart Tolle ที่ว่า “ตัวตนที่แท้จริงของเรา” ไม่ใช่ความคิดของเราเราก็เลยมีคำถามว่า แล้วตัวตนที่แท้จริงของเรา คืออะไร? ทอเลอบอกว่าตัวตนที่แท้จริงของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความคิดหรือกระแสความคิดที่ไหลผ่านจิตใจ เรามักจะหลงคิดว่าตัวเราคือความคิดของเรา แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราคือผู้สังเกตความคิดเหล่านั้น…
Disney Princess Syndrome | เมื่อโลกแห่งความจริงไม่ได้มีเจ้าชายมาช่วยเสมอ (ตอนที่ 2)
หลายคนเติบโตมาพร้อมกับเรื่องราวของเจ้าหญิงที่พบกับรักแท้และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขตลอดกาล แต่พอเราก้าวเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง กลับพบว่าชีวิตไม่ได้ง่ายหรือสมบูรณ์แบบเหมือนในเทพนิยาย Disney Princess Syndrome อาจดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่นัก แต่ถ้าแนวคิดนี้ฝังรากลึกในมุมมองของเรา มันสามารถส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความรัก การงาน หรือแม้แต่วิธีที่เรามองตัวเองและโลกใบนี้…
Disney Princess Syndrome | เมื่อโลกแห่งความจริงไม่ได้มีเจ้าชายมาช่วยเสมอ (ตอนที่ 1)
ในวัยเด็กเราโตมากับนิทานที่จบแบบ “Happy Ending” เจ้าหญิงมักพบกับอุปสรรค แต่สุดท้ายก็มีเจ้าชายมาช่วยให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ทุกอย่างถูกแก้ไขได้ด้วย “รักแท้” หรือ “โชคชะตา” ที่นำพาความสุขมาให้ แต่เมื่อโตขึ้น เรากลับพบว่าชีวิตไม่ได้ง่ายดายแบบนั้น ไม่มีเจ้าชาย ไม่มีนางฟ้าแม่ทูนหัว และไม่มีเวทมนตร์ที่จะเสกให้ปัญหาทุกอย่างหายไป สิ่งที่เหลืออยู่คือ ตัวเราเอง กับความเป็นจริงที่ต้องเผชิญ…
ในยุคที่ข้อมูลท่วมท้น การแยกแยะระหว่างความจริงกับความเชื่อที่ผิดๆเป็นทักษะสำคัญ ตรรกะวิบัติและอคติทางความคิด เป็นสองคำที่มักถูกใช้สลับกันในการอธิบายความผิดพลาดของกระบวนการคิด แต่แท้จริงแล้ว ทั้งสองคำนี้มีความหมายและที่มาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ การทำความเข้าใจความแตกต่างนี้จะช่วยให้เราสามารถประเมินข้อมูล ตัดสินใจ รู้เท่าทัน และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น…
บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อตอบข้อสงสัยของตัวเอง เนื่องจากไปเจอโพสหนึ่งบนโซเชียลมีเดียบอกว่า People who have a high spiritual intelligence don't just read word. They read mood, they read energy, they read vibes and body language. Their sense are supreme. They might not say much, but they notice everything. มาทำความเข้าใจมันให้มากขึ้น…
ลองนึกภาพนะว่าถ้าในหัวของเรามีโลกเล็กๆที่เป็นเหมือนห้องควบคุมในยานอวกาศ และเป็นที่อยู่ของอารมณ์ต่างๆ ของเราจะเป็นยังไง ในเรื่อง Inside Out 2 อารมณ์จะเป็นตัวละครน่ารักๆ มีหน้าที่ดูแลความรู้สึกของเรา อย่าง “ลั้นลา” เป็นตัวสีเหลืองสดใส ชอบทำให้เรามีความสุข “เศร้าซึม” เป็นตัวสีฟ้า ช่วยทำให้เราเข้าใจความรู้สึกเศร้า และเห็นอกเห็นใจคนอื่น ซึ่งในหัวของไรลี่ตัวเอก จะมีห้องควบคุมที่พวกอารมณ์ต่างๆ ทำงานกัน บนแผงคอนโซลควบคุมมีปุ่มกดมากมาย มีหน้าจอใหญ่ที่แสดงสิ่งที่ไรลี่เห็นและคิด เวลาไรลี่ต้องตัดสินใจอะไร อารมณ์พวกนี้ก็จะช่วยกันกดปุ่มควบคุมความรู้สึกที่เราแสดงออกมา…
เคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า เราอยู่บนโลกนี้เพื่ออะไร? ความหมายของการอยู่คืออะไร? คำถามเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ย้อนไป 70 ปีก่อน นักคิดชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ เคยมีแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซาร์ตร์เชื่อว่า ทุกคนมีอิสระในการเลือกและตัดสินใจ แต่พร้อมกันนั้นก็ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เขาท้าให้เราคิดใหม่ว่า ตัวเรานี่แหละที่เป็นผู้กำหนดความหมายให้กับการดำรงอยู่ของตัวเอง ไม่ใช่สิ่งอื่น ในบทความนี้ เราจะสำรวจแนวคิดของซาร์ตร์ ดูว่ามันจะช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัวขึ้นได้อย่างไร…
การผัดวันประกันพรุ่งไม่ใช่แค่ความขี้เกียจหรือบริหารเวลาที่ไม่ดีเท่านั้น แต่เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อพวกเราหลายๆคน ในบล็อกนี้ เราจะสำรวจจิตวิทยาเบื้องหลังการผัดวันประกันพรุ่ง ว่ามีผลกระทบอะไรบ้าง และกลยุทธ์ในการเอาชนะกันค่ะ…
จริงๆ แล้ว การทำงานอย่างฉลาดและเน้นไปที่สิ่งสำคัญต่างหากที่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ work smart not work hard…