คุณรู้ไหมว่าอะไรที่อันตรายยิ่งกว่า AI ?
บทความนี้ Carlos E. Perez ได้พาคุณไปสำรวจรายละเอียดและแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นทำให้เราโง่ขึ้นได้ยังไง
พวกเราต่างเคยมีประสบการณ์ ในการใช้จีพีเอสนำทางไปยังที่ๆไม่คุ้นเคย จนมานึกได้ทีหลังว่าเราไม่มีความทรงจำหรือความสามารถที่จะไปยังสถานที่นั้นอีกครั้งหากปราศจากการนำทางของ GPS หรือกว่าจะจำทางได้นั้นก็ต้องพึ่งมันหลายหนเลยทีเดียว
ไม่ใช่เพียงสัญชาตญาณเรื่องทิศทางของเราลดลงเพราะไม่ค่อยได้ใช้งาน แต่ความทรงจำของเราก็ด้วย พวกเราต่างสูญเสียความสามารถในการรำลึกเพราะการใช้อากู๋มากไปนั่นเอง ตอนนี้เราส่วนใหญ่จะชอบนึกไปในทางว่าเราจะค้นหาอะไรมากกว่าจดจำรายระเอียดของสิ่งๆนั้น
กรอบที่คุณคาลอสมักใช้ในการสำรวจสัญชาตญาณคือ Cognitive Bias Codex
จากวิกิพีเดีย มันคือไบแอสจำนวนมาก อย่างไรก็ตามคร่าวๆมันจะมี เลเวลสูงสุดแบ่งเป็น 4 ประเภทที่เป็นตัวหลักของไบแอส
- ปริมาณข้อมูลเยอะไป (Too Much Information)
- สื่อความหมายไม่เพียงพอ (Not Enough Meaning)
- อยากทำให้เสร็จเร็วๆ (Need to Act Fast)
- และเราควรจะจดจำอะไร (What Should We Remember?)
โลกของเราต้องการระบบอัตโนมัติมากขึ้นเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน สินค้าและบริการที่เป็นที่ต้องการเป็นสิ่งที่มาทดแทนความไม่พอเพียงของมนุษย์ ข้อเสียที่เห็นได้ชัดก็คือเมื่อมีเครื่องทุ่นแรง เรายิ่งฝึกฝนน้อยลง
คนที่รักษาความฉลาดของพวกเขาไว้ได้คือไม่กี่คนที่ฝึกใช้กึ๋นอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันเรามีประชากรที่ไม่ค่อยได้ใช้สมองแถมขี้เกียจ เราคิดว่าตัวเราเองมีความฉลาดขึ้นเพราะว่าเราสามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ อย่างไรก็ตามสมองของเรายังไม่ได้มีการพัฒนาให้มีความสามารถทำงานหลายๆอย่าง ยังจ้ะ สมองของเราไม่ได้มีเพื่อทำงานหลายๆอย่างในคราวเดียวกันได้ดีหรอกนะ ความจริงแล้วมีงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่านกพิราบนั้นยังมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่างมากกว่ามนุษย์เสียอีก ซึ่งเป็นเรื่องน่าตลกที่เรามีความภาคภูมิใจในทักษะการใช้งานมัลติทาสกิ้งของเรามากกว่าการค้นพบว่าเรานั้นโง่กว่านกพิราบ!
มีปัญหาที่แย่กว่าการที่ระบบอัตโนมัติทำให้เราโง่ลง ปัญหาใหญ่ที่ว่านั้นคือมีมนุษย์บางกลุ่มที่รู้ว่าระบบสามารถทำให้เราโง่ลงและใช้ประโยชน์จากความโง่เขลาตามธรรมชาติของเราเพื่อจะชักจูงพฤติกรรม กว่าทศวรรษที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการโฆษณาใช้จ่ายไปหลายล้านล้านดอลลาร์ในการคิดค้นวิธีใหม่ ๆ ในการ “จูงใจ” ให้เราทำสิ่งต่างๆ โดยที่เราไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกชักจูง เทคนิคเหล่านี้คือการใช้ประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในอคติทางความคิดของเรา (Cognitive Biases) อย่างไรก็ตามหากเรามีเหตุผลที่สมเหตุสมผลเราก็จะใช้เงินของเราอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และมีบริษัท น้อยมากที่ต้องการให้เราทำเช่นนั้น ถ้าเราลดการใช้จ่ายของเราเศรษฐกิจก็จะหยุดชะงักและจะมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ! (เห็นอะไรผิดปกติไหม ทำไมเราต้องเร่งการบริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจซบเซากันด้วยนะ)
ดังนั้น ความโง่โดยธรรมชาติ ในบริบทนี้มันจึงหมายถึงข้อจำกัดและจุดอ่อนที่มีอยู่แต่กำเนิดในการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์ โดยทั่วไปคือ การไม่รู้ความหมาย ขาดความจำ ไม่สามารถคิดได้เร็ว และไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆได้
ระบบที่เรามีในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของการนำเสนอสินค้าและบริการขึ้นมาทดแทนสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ มันเป็นวิถีตามธรรมชาติที่เราจะค้นหาวิธีที่ทำให้เราเกิดการดำเนินการให้น้อยที่สุด นั่นคือวิธีการที่ต้องใช้แรงน้อยๆหรือความเกียจคร้านที่เราสามารถทำได้ ลองสำรวจไบแอส 4 อย่างที่ว่านี้ให้ละเอียดมากขึ้นดู
การไม่รู้ความหมาย
- มนุษย์ ตั้งแต่เริ่มต้นชีวิต พวกเขาถูกขับเคลื่อนเพื่อการแสวงหาความหมาย คำอธิบายที่เรียบง่ายที่สุดส่วนใหญ่มักจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจธรรมชาติมากที่สุด อารยธรรมสร้างศาสนาให้เกิด ไม่เพียงสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อพฤติกรรมที่ยอมรับได้เท่านั้น สิ่งหนึ่งคือมันขับเคลื่อนด้วยความต้องการของเราที่จะค้นหาความหมาย
ขาดความจำ
- ข้อเขียนต่างๆ (ยกตัวอย่างเช่น หนังสือ) และรูปแบบอื่นๆ อย่างเว็บไซต์ทั้งหลายเป็นเครื่องมือที่ชี้ให้เห็นถึงหน่วยความจำที่มีอันจำกัดของเรา สิ่งที่ความทรงจำต้องการ ไม่ใช่แค่ที่เก็บเท่านั้นแต่มันต้องการความสามารถในการเรียกมันกลับคืนมาด้วย อย่างพวกประวัติศาสตร์ ศาสนาและกฎหมายก็ยังต้องได้รับการถ่ายสำเนาไว้ในหนังสือม้วน หนังสือต่างๆ และตอนนี้พวกมันก็อยู่ในระบบอัตโนมัติ เงินก็เป็นรูปแบบของหน่วยความจำนั่นคือเมื่อใครครอบครองมัน เห็นได้ว่ามันเป็นตัวชี้วัดความสามารถของคนๆนั้นในได้มาซึ่งสินค้าและบริการ หมายถึง มันแสดงให้เห็นถึงมูลค่าที่เราสร้างไว้ในอดีต ความทรงจำของการแปลกเปลี่ยนการทำงานในอดีต จดจำว่าใครสร้างคุณค่าอะไรไว้
ไม่สามารถคิดเร็วๆได้
- มนุษย์ได้สร้างคอมพิวเตอร์เพื่อคำนวณสูตรคณิตศาสตร์ที่เราคิดค้นขึ้นโดยอัตโนมัติ คอมพิวเตอร์ไม่เพียงแต่จัดเก็บความทรงจำ แต่สามารถประมวลผลได้โดยปราศจากข้อผิดพลาด เราพบว่ามันไม่สะดวกเท่าไหร่ที่จะใช้เงินสดในสิ่งที่เราต้องคิดคำนวณในใจเพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือการโดนโกง เรามีอุปกรณ์จัดเก็บเวลาทำให้เราไม่จำเป็นต้องมองออกไปบนท้องฟ้าเพื่อเดาว่ากี่โมงแล้ว เรามีอุปกรณ์ GPS เพื่อช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการอ่านแผนที่และไม่ต้องคำนวณเส้นทางไปยังจุดหมายปลายของเรา
ไม่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากได้
- สุดท้ายเรามีปัญหาเรื่องข้อมูลที่ท่วมท้นมากเกินไป เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ได้มาจากการที่เราบริโภคข้อมูล อย่างไรก็ตามสมองของมนุษย์ไม่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับข้อมูลที่เหมือนน้ำจำนวนมหาศาลที่พุ่งออกมาจากท่อดับเพลิง เราจึงพึ่งเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น X และ Facebook ในการรับข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับโลกและช่วยเราคัดกรองข้อมูล
เราจะกลายเป็นคนโง่ลงเมื่อเราละเลยความรับผิดชอบต่อระบบ (หรือ AI ) หรือปล่อยให้มันคิดแทนโดยไม่ตั้งคำถาม ถ้าเราหลีกเลี่ยงการตั้งคำถาม เลี่ยงที่จะรู้ความเป็นมา มองข้ามพฤติกรรมที่น่ารังเกียจเพื่อที่จะปกป้องความเชื่อของเราเอง ยึดติดกับความเชื่อเก่าๆ และทำตามกฏระเบียบโดยไม่ใช้สามัญสำนึก
เราละเลยเรื่องสามัญสำนึกด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆในการบังคับใช้ขั้นตอนต่างๆ เช่นเดียวกับสายการบินยูไนเต็ดที่มีแพทย์อายุ 70 ปีถูกทำร้ายและถูกขับออกจากสายการบินเพียงเพราะลูกเรือสุ่มสี่สุ่มห้าปฏิบัติตามโปรโตคอลแทนคอมมอนเซ้น
ท้ายที่สุดแล้วเราก็ไม่ได้เรียกร้องความรับผิดชอบต่อองค์กรที่ใช้ข้อมูลเกินพิกัดในรูปแบบของการบิดเบือนชี้นำความคิดของสาธารณชน
บทสรุป
สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่ AI จะครองโลก แต่เป็น “ความโง่โดยธรรมชาติ” (Natural Stupidity) ที่ครองโลกอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งเห็นได้จากการสนทนาในที่สาธารณะทุกวันนี้
ประเด็นหลักของบทความนี้คือการวิพากษ์วิจารณ์การที่มนุษย์พึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไปจนละเลยการคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง และการที่เราไม่ตั้งคำถามกับข้อมูลที่ได้รับ นำไปสู่ปัญหาที่ใหญ่กว่า AI นั่นคือความโง่เขลาของมนุษย์เอง