SELF DEVELOPMENT

ทฤษฏีภูเขาน้ำแข็งกับการตัดสินใจของคน

ทฤษฏีภูเขาน้ำแข็งของเฮมิ่งเวย์ ได้ถูกนำไปใช้ในงานด้านประวัติศาสตร์ไปจนถึงแขนงต่างๆตั้งแต่วรรณกรรมไปจนถึงทรัพยากรมนุษย์ และที่เราจะบอกคุณในวันนี้
คือการนำทฤษฎีนี้ไปประยุกต์ใช้กับจิตวิทยา

ทฤษฎีของเฮมิงเวย์ทางจิตวิทยาบอกว่าเราจัดการกับสิ่งที่เรา’รับรู้ด้วยตาเท่านั้น‘ ส่วนที่เหลือที่ไม่มีใครสังเกตเห็น ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับภูเขาน้ำแข็ง นั่นคือส่วนที่เราให้ความใส่ใจกับข้อมูลที่เราเห็น แต่ก็มีอีกส่วนที่เราไม่เคยรู้

ลองจินตนาการว่าคุณกำลังเดินทางโดยเรือ
และในระยะที่คุณเห็นภูเขาน้ำแข็ง
คุณมองไปที่มัน คุณเห็นอะไร

ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่

แต่ภายใต้ภูเขาน้ำแข็งก้อนนั้นมันคือก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาที่ถูกซ่อนไว้จากมุมมองหรือทัศนวิสัยของเราซึ่งก้อนที่อยู่ข้างใต้นี้มันได้รักษาและทำให้ก้อนที่เราเห็นนั้นอยู่อย่างมั่นคง

เมื่อเรากลับมามองความจริงที่อยู่ต่อหน้า เราจะเห็นภาพ นั่นคือการมองเห็นตามทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งมีเพียง 20% ของจำนวนทั้งหมด แล้วที่เหลือล่ะ? สิ่งที่เราไม่รับรู้อีก 80% ของทั้งหมด สิ่งนี้แหละที่สามารถนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ภายนอกและภายในจิตใจของเราและกระบวนการทั้งหมดที่เราไม่อาจไม่เห็น

ยกตัวอย่าง คิดดูหลาย ๆ ครั้งที่เราพยายามโน้มน้าวใจตัวเองด้วยไอเดียและแนวคิดต่างๆ แต่เรากลับทำตามเส้นทางที่ง่าย ตัวเลือกนี้อาจจะเป็นตัวเลือกที่สนับสนุนเราหรือแนวคิดของเรา เราไม่ทันได้ลองคิดดูว่าเราสับสนหรือเปล่าหรือคิดผิดหรือเปล่า เราทำแต่เพียงแค่หาข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนและปกป้องสมมุติฐานของเราแค่นั้น

ทำไมเราถึงไม่พยายามเช็คดูว่าสิ่งที่เราเลือกนั้นเป็นสิ่งที่ผิดหรือเปล่า ทำไมเวลาส่วนใหญ่แล้วเราไม่ทบทวนถึงต้นทุนหรือประโยชน์ต่างๆ

เป็นไปได้หรือไม่ว่าหลังจากการตัดสินใจอย่างกะทันหัน คำถามและปัญหาใหม่ ๆ ได้มากระจ่างตรงจุดที่เราไม่ทันได้คาดคิดเอาไว้?
เราในฐานะมนุษย์มีแนวโน้มที่จะทำตามโปรแกรมของระบบเศรษฐกิจ โดยที่เรามักเลือกรับข่าวสารความรู้ที่แทบไม่ต้องใช้ความพยายาม หรือต้องใช้ความพยายามอันน้อยนิดที่ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการมองชีวิตของเรา

จำไว้ว่าส่วนใหญ่แล้วเราสมมติขึ้นมาเองและสรุปเองโดยขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เรามีซึ่งไม่ใช่ข้อมูลเกือบทั้งหมดที่มีอยู่

จงระวังในการตัดสินใจ!

0 0 votes
Article Rating

You Might Also Like

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x